วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่ ๕ การมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามหลักจริยศาสตร์


๑. คุณธรรม  ความรู้  และนิสัย
    ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันดังนี้
    ๑. คุณธรรม  คือ  สิ่งที่บุคคลควรประพฤติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ หรือ เป็นไปตามหลักแห่งธรรมชาติ
   
ประการที่ ๓ อย่างต่ำให้มีศีล   เพราะศีลส่งทำให้สูง  ศีลปรุงทำให้สวย  ศีลนำทำให้รวย  ศีลช่วยทำให้เจริญ หรืออีกบทที่ว่า  อันสตรีไม่มีศีลศีลก็สิ้นสวย  บุรุษด้วยไม่มีศีลก็สิ้นศรี  อันภิกษุไม่มีศีลก็สิ้นดี   ข้าราชการศีลไม่มีก็น่าอาย
 
ตอน คนมีคุณแก่ส่วนรวม หรือเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ควรมีธรรมประจำใจของผู้ประเสริฐ หรือผู้มีจิตใจยิ่งใหญ่กว้างขวางดุจพระพรหม คือ พรหมวิหาร ๔ ได้แก่
  ๑. เมตตา  ความรัก คือ ความปรารถนาดี มีไมตรีจิต
  ๒. กรุณา  ความสงสาร คือ อยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์
  ๓. มุทิตา  ความเบิกบานพลอยยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข
  ๔. อุเบกขา  ความมีใจเป็นกลาง  คือ มองตามเป็นจริง โดยวางจิตเรียบสม่ำเสมอ

๒. ความรู้ คือ สิ่งที่บุคคลควรหา เพื่ออำนวยให้ชีวิตเป็นอยู่โดยความปลอดภัยโดยอัตตภาพ
    ๓. นิสัย คือ พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลสั่งสมให้เกิดขึ้นภายในตน ด้วยการปฏิบัติซ้ำ ๆ
  ส่วนอุปนิสัย คือ สิ่งที่ปรุงแต่งจิตที่ก่อตัวขึ้นเป็นเวลานาน อยู่ในส่วนลึกของจิต หรือนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
๒. คุณธรรมของคนกับคุณค่าของความเป็นคน
 
ตอน คนผู้เป็นสัตว์ประเสริฐ หรือ สมาชิกในสังกัดแห่งมนุษยชาติ ควรประกอบด้วยจริยธรรม คือ
  ๑. กัลยาณมิตตา คือ ให้รู้จักเลือกคบเพื่อน และแสวงหาแหล่งปัญญา และเป็นแบบอย่างที่ดี
  ๒. สีลสัมปทา คือ ให้มีศีล มีวินัยเป็นหลักฐานของการพัฒนาชีวิต
  ๓. ฉันทสัมปทา คือ ให้มีจิตที่ใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์

๔. อัตตสัมปทา คือ ให้มุ่งมั่นฝึกฝนตนจนสุดถาวะศักยภาพที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้
  ๕. ทิฏฐิสัมปทา คือ ให้ถือหลักเหตุปัจจัย มองอะไรตามเหตุและผลที่มี
  ๖. อัปปมาทสัมปทา คือ ให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท
  ๗. โยนิโสมนสิการสัมปทา คือ ให้ฉลาดคิดแบบแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น