วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ผลสำรวจ'ภูมิใจในความเป็นคนไทย'พุ่ง พร้อมทำดีเพื่อพ่อ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์วันที่ 30 ตุลาคม 2559ผลสำรวจ'ภูมิใจในความเป็นคนไทย'พุ่ง พร้อมทำดีเพื่อพ่อ
"ซูเปอร์โพล" เผยผลสำรวจ "ความภูมิใจในความเป็นคนไทย" พุ่งถึง 97.3% ระบุ "ในหลวง" ทรงงานเหน็ดเหนื่อยเพื่อคนไทยทั้งประเทศ ขอช่วยกันทำดีเพื่อพ่อ
ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน สำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เปิดผลสำรวจเรื่อง ความภูมิใจในความเป็นคนไทย กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพจำนวนทั้งสิ้น 1,144 ตัวอย่าง ระหว่งวันที่ 25-29 ต.ค. พบว่า
ความภูมิใจในความเป็นคนไทย เมื่อนึกถึงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพิ่มขึ้นมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.3 เพราะได้เกิดในรัชกาลที่ 9 ทรงงานเหน็ดเหนื่อยเพื่อคนไทยทุกคนทั้งประเทศ ไม่แบ่งแยก ได้เห็นคนไทยเป็นหนึ่งเดียวกันแสดงความจงรักภักดี ได้เกิดเป็นคนไทยใต้ร่มพระบารมี นานาประเทศยกย่องสรรเสริญร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ทรงทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนทุกคนทั้งประเทศ เป็นต้น
เมื่อถามถึงคำขอเพื่อคนไทยและเพื่อประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 93.4 ระบุขอให้คนไทยรักกัน ช่วยกันทำดีเพื่อพ่อ ขอพระบารมีคุ้มครอง รองลงมาคือร้อยละ 91.5 ขอให้เศรษฐกิจดี ชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนดีขึ้น ร้อยละ 86.2 ขอให้ครอบครัวมีความสุข ร้อยละ 84.1 ขอให้มีความเจริญก้าวหน้า ร้อยละ 75.92 ขอให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง ร้อยละ 74.7 ขอให้ประเทศชาติผ่านพ้นวิกฤตต่างๆ ไปได้ ร้อยละ 71.3 ขอให้ทุกคนพ้นอันตรายทั้งปวง และร้อยละ 41.5 ขอให้ทุกคนอดทน ขยันหมั่นเพียร และประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นต้น
เมื่อถามถึงความตั้งใจจะยึดถือปฏิบัติ ทำดีเพื่อพ่อพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.5 ระบุ ตั้งใจจะรักชาติ รักแผ่นดิน รักสถาบันฯ รองลงมาคือ ร้อยละ 62.8 จะช่วยเหลือเกื้อกูล มีน้ำใจต่อกัน ร้อยละ 61.4 จะทำจิตอาสา ร้อยละ 58.9 จะกตัญญู ร้อยละ 57.2 จะขยันหมั่นเพียร ร้อยละ 53.1 จะมีวินัย ร้อยละ 52.0 จะรับผิดชอบ ร้อยละ 50.6 จะมีสติสัมปชัญญะ ร้อยละ 47.8 จะประหยัด และร้อยละ 45.5 จะเสียสละ และให้อภัย ตามลำดับ
ที่น่าสนใจคือ ระดับความภูมิใจโดยรวมที่เกิดเป็นคนไทย เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความภูมิใจโดยรวมที่เกิดเป็นคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 9.41 คะแนน และเมื่อถามถึงความทุกข์เดือดร้อนของประชาชน พบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.2 ระบุชีวิตยังทุกข์และเดือดร้อน แต่ขออดทนสู้ต่อไป ยึดมั่นคำสอนของพ่อ รองลงมาคือ ร้อยละ 34.5 ระบุ ชีวิตมีความสุข อยู่ได้ทุกสถานการณ์ และร้อยละ 4.3 ระบุชีวิตมีความทุกข์และเดือดร้อนมากเกินกว่าจะอดทนต่อไปได้


วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

รายละเอียดของรายวิชา(มคอ.๓) ปีการศึกษาที่ ๑/๒๕๕๙

  รายละเอียดของรายวิชา(มคอ.๓)
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา   ทุกคณะ/สาขาวิชาและหลักสูตร ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  บางกอกใหญ่ 
                                          กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐
หมวดที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป
.  รหัสและชื่อรายวิชา       ๙๐๑-๑๐๕  วิชา  จริยศาสตร์
๒.  จำนวนหน่วยกิต           ๓ หน่วยกิต  (๓-๐-๓)

๓.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา   หลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา

4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา            ตอนเรียนที่  .  อาจารย์ ดร.นิเวศน์   วงศ์สุวรรณ
                                                                           ๒.  อาจารย์กิจสดายุทต์   สังข์ทอง 
 ๕.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน              ภาคการศึกษาต้น/ปลาย ปีที่ ๑ และ ๒
๖.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)   ไม่มี
๗.  วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)   ไม่มี
๘.  สถานที่เรียน        วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  ห้อง  9801,9602
๙.  วันที่จัดทำรายละเอียดของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด
     ๒   มิถุนายน  ๒๕๕๕ และ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๘
หมวดที่  ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา
                .  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของทฤษฎีจริยศาสตร์
                .๒ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะความชำนาญทางความคิดและหลักเกณฑ์ในการพินิจพิเคราะห์
                .๓  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน และสังคม
                .๔  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแทรกหลักจริยธรรมในหน้าที่และวิชาชีพต่าง ๆ ที่ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
                ๑.๕ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม อย่างต่อเนื่อง
        ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
๒.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
๒.๑  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานจริยศาสตร์ทั่วไป
              ๒.๒  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับจริยศาสตร์กับการประกอบอาชีพต่าง ๆ  
๒.๓  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความจำเป็น ความสำคัญ ของจริยศาสตร์ใน
          ชีวิตประจำวัน   
๒.๔  เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างความเข้าใจในเนื้อหาจริยศาสตร์
          ความซาบซึ้งในจริยศาสตร์ทั้งสารัตถะและสุนทรียภาพตามหลักนิรุตติศาสตร์
              
หมวดที่ ๓  ส่วนประกอบของรายวิชา
 .  คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่สำคัญ แนวความคิดหลักเกณฑ์ การนำหลักวิชามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์ และการแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน สังคม และจริยธรรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติ การมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
-
-
๖ ชั่วโมง/สัปดาห์

๓.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล
     ๓  ชั่วโมง/สัปดาห์

หมวดที่ ๔  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน 
๑.  คุณธรรม จริยธรรม
๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                      ปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและความมีน้ำใจ 
            ๑.๒  วิธีการสอน
  ๑.๒.๑   การอธิบาย/บรรยาย
  ๑.๒.๒  การอภิปราย                                
           ๑.๒.๓   การศึกษาค้นคว้ารายบุคคลหรือกลุ่ม
            ๑.๒.๔   การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            ๑.๒.๕  การใช้สื่อประกอบการสอน
            ๑.๓  วิธีการประเมิน
                ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน

๒.  ความรู้
               ๒.๑  ความรู้ที่จะได้รับ
                     ความรู้และทักษะเกี่ยวกับทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่สำคัญ แนวความคิดหลักเกณฑ์ การนำหลักวิชามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์ และการแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน สังคม และจริยธรรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติ การมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
            ๒.๒  วิธีการสอน
                       การบรรยาย  การอภิปราย   การทำรายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว  การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งกรณีศึกษาและ/หรือเชิญวิทยากรมาบรรยาย
                ๒.๓  วิธีการประเมิน
                      ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การสอบกลางภาคและปลายภาค   

๓.  ทักษะทางปัญญา
            ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                  คิดสะท้อน (Reflective thinking) คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบรูณาการองค์ความรู้จากการวิพากษ์ ความบกพร่องทางจริยธรรม  ทฤษฎี และประเด็นปัญหาด้านจริยธรรมต่าง ๆ
            ๓.๒  วิธีการสอน
                   ใช้กระบวนการกลุ่มแบบ QBL ในการอธิบาย อภิปราย สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การทำแฟ้มวิเคราะห์จากใบงานต่าง ๆ  ตลอดภาคการศึกษา
            ๓.๓  วิธีการประเมิน   
                ประเมินจากการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปราย  รายงานรายบุคคล  รายงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดส่งผลการวิเคราะห์ใบงานทุกสัปดาห์

.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                  มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
                ๔.๒  วิธีการสอน
                   ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ อภิปราย/บรรยาย สาธิต และการปฏิบัติ เช่น การแสดงความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนน่ารัก ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
๔.๓  วิธีการประเมิน
                   ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและการทำรายงาน

๕.  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศ
๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
                  ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดภาษาและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๒  วิธีการสอน
                  การสอนโดยใช้ Power point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และอินเตอร์เน็ต
๕.๓  วิธีการประเมิน
               ประเมินผลจากใบงาน การเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน
หมวดที่  ๕  แผนการสอนและการประเมินผล
. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
-อธิบาย มคอ.3
-บทที่  ๑  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จริยศาสตร์
-ทฤษฎีทางจริยศาสตร์
-แนะแนววิธีการศึกษา
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
-จุดมุ่งหมายของจริยศาสตร์
-ขอบเตและคุณค่าของการศึกษา จริยศาสตร์

-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง



-ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์
-วิธีการศึกษาจริยศาสตร์
-จริยศาสตร์กับจริยธรรม
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
บทที่ ๒ แนวความคิดหลักในการวิเคราะห์เหตุผลทางจริยศาสตร์
-หลักประกอบความดีโดยทั่วไป
-หลักเกณฑ์จริยศาสตร์ขั้นมูลฐาน,จริยศาสตร์ขั้นกลาง และจริยศาสตร์ขั้นสูง
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับชีววิทยา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับจิตวิทยา
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับสังคมวิทยา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับรัฐศาสตร์
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับอภิปรัชญา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับศาสนาหรือเทววิทยา
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
อภิปราย

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ.กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
บทที่ ๓  การแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาสังคมและส่งเสริมการพัฒนาชีวิต
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาสังคม -จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาครอบครัว
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์ สังข์ทอง
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการปกครอง –จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ -จริยธรรมตามบทบาทหน้าที่ความรู้สึกทางศีลธรรม -การแก้ปัญหาและการตัดสินปัญหาทางศีลธรรม
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์ สังข์ทอง






                   สอบกลางภาค    (บทที่ ๑- ๓)    วันที่   ๔-๘   ต.ค.  ๒๕๕๙







บทที่ ๔  การแทรกและนำหลักจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ทฤษฎีว่ามาตรฐานตามหลักจริยธรรม
-จริยธรรมและมาตรฐานตามความเจริญของสังคม
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของบุตรฯ







-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต



ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง





-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกา
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา






-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต


ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๑
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของประชาชน
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนายจ้าง-ลูกจ้าง
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของการครองชีวิต


-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้สอน
๑๒
บทที่ ๕ การมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามหลักจริยศาสตร์
-คุณธรรม ความรู้ และนิสัยตามหลักจริยศาสตร์
-คุณธรรมของคนกับคุณค่าของความเป็นคน
-คุณธรรมของคนกับสังคมรอบข้าง
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๓





-คุณธรรมของคนกับการเลือกดำเนินชีวิต
-คุณธรรมของคนกับการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม
-คุณธรรมของคนกับวิธีการเลือกทางสงบสุข





-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง




๑๔

บทที่ ๖ ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
-สิทธิและหน้าที่
-การจำแนกหน้าที่
-หน้าทางศีลธรรมของมนุษย์
-หน้าที่กับคุณธรรม
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๕
-หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
-ความรับผิดชอบและความขัดแย้งกับหน้าที่
-คุณธรรมกับความสุข

-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๖
    สอบปลายภาค (บทที่ ๔- ๖)    วันที่  ๒๘ พ.ย. ๓  ธ.ค.  ๒๕๕๙

* จำนวนชั่วโมงต้องสอดคล้องกับจำนวนหน่วยกิต

๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
กิจกรรมการประเมิน
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล
ความรู้และทักษะการ
นำเสนอรายงาน
๗/๑๕
๒๐

วิเคราะห์ ภาษาการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



ความรู้
การสอบกลางภาค    
๓๐
ความรู้
การสอบปลายภาค
๑๖
๓๐
ความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียน
ทุกสัปดาห์
๑๐
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง
การสังเกต/การทำรายงานกลุ่ม
ทุกสัปดาห์
๑๐

บุคคลและความรับผิดชอบ



* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร (แบบ มคอ. ๒)
หมวดที่  ๖  ทรัพยากรประกอบการเรียน
๑.  ตำราและเอกสารหลัก
          . ให้นักศึกษาไปค้นคว้าความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยศาสตร์ หรือหนังสือแนวพุทธธรรมเพิ่มเติมจากห้องสมุด และค้นคว้าหาจาก Website ต่าง ๆ ตามที่จะเห็นสมควร
                ๒. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ประยุตฺโต) .ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์
สหธรรมิก จำกัด ๒๕๔๗
          .  นิเวศน์   วงศ์สุวรรณ .จริยศาสตร์. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, กรุงเทพมหานคร. ๒๕๕๐
                ๔.  นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ .รายงานการวิจัย เรื่อง  การศึกษากิจกรรมที่พัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาสังกัดสถาบันการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  ประจำปีการศึกษา  ๒๕๕๓
              ๕. http//:ethics-stc.blogspot.com
                ๖.  E-learning วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กทม.


หมวดที่ ๗  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

๑.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต
                ๑.๑  ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
               ๑.๒  สอบถามความคิดเห็นจากนิสิตในสัปดาห์สุดท้าย
๑.๓  ให้นิสิตเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณาจารย์ผู้สอนปลายภาค
๓.  การปรับปรุงการสอน
              ๓.๑   นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน
๓.๒   ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆนำมาใช้ในการสอน
๓.๓   กลุ่มคณาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสม
          และน่าสนใจ
๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนิสิต
              ๔.๑  ให้นิสิตได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
๔.๒  ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน
๕.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา

นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนิสิต การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาหน้า