วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ศาสนาอิสลาม


ศาสนาอิสลาม

ประวัติศาสนาอิสลาม
     ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีผู้นิยมนับถือมากที่สุดศาสนาหนึ่ง เป็นศาสนาที่แพร่หลาย ในเอเชียตะวันตก หรือตะวันออกกลาง มีลักษณะ เป็นศาสนาเอกเทวนิยม ซึ่งนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว  เป็นศาสนา สายเดียวกับศาสนายิว (ยูดาย) และศาสนาคริสต์
     อิสลาม  แปลว่า  การนอบน้อม  สันติ  การยอมจำนนอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ศาสนาอิสลาม จึงหมายถึง การนอบน้อตน ต่อพระอัลเลาะห์ เพียงพระองค์เดียวอย่างสิ้นเชิง  หัวใจของศาสนาอิสลาม ก็คือ การประกาศเปิดเผยความเป็นเอกภาพ  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับพระอัลเลาะห์ (พระเจ้า) เน้นการมอบตัวต่อพระประสงค์ ของพระอัลเลาะห์ ผู้นับถืออิสลาม  เรียกว่า "มุสลิม"

     ศาสนาอิสลาม ไม่มีพระหรือนักบวช แต่มี "อีหม่าม" ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำ ในการนมัสการพระอัลเลาะห์ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ในการติดต่อระหว่าง พระเจ้ากับมนุษย์  ศาสนาอิสลามยังมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากศาสนาอื่น คือ นอกจากจะมีการสอนเรื่องจริยธรรมเหมือนกับศาสนาอื่นแล้ว ยังเป็นระบบการเมือง เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมด้วย  เช่น  บทว่าด้วยการลงโทษทางอาญา  การรับมรดก  การหย่า  การพาณิชย์  เป็นต้น
     ศาสนาอิสลามถือว่าศาสดาเป็นมนุษย์ธรรมดา  มิได้เป็นบุตรของพระเจ้า ศาสดาของศาสนาอิสลา คือ ท่านะบีมะหะหมัด หรือ มุฮำหมัด หรือ มูฮำหมัด หรือโมฮำหมัด  ส่วนคำว่า "นะบี" แปลว่า ผู้รับโองการจากพระเจ้า) ท่านศาสดา เกิดที่เมืองเมกกะ  ประเทศอาหรับ (ปัจจุบัน คือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย) เกิดวันที่  29  สิงหาคม  พ.ศ.  1113  เป็นบุตรของท่านอับดุลเลาะห์และนางอามีนะฮ์  ท่านกำพร้าบิดามารดามาแต่เยาว์วัย  เมื่ออายุ  25  ปี ได้แต่งงานกับหญิงหม้าย อายุ  40  ปี  จากนั้น ท่านได้รับอาลีบุตรชายของลุงมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
     เมื่อท่านศาสดาอายุได้  40  ปี  ได้เห็นสังคมอาหรับมีแต่ความเสื่อมโทรม ผู้คนมิได้ประพฤติตนอยู่ศีลธรรม  ท่านศาสดา เป็นคนช่างคิด  จึงมักออกไปหาความ วิเวก  ณ ถ้ำฮิรอฮ์  ห่างจากเมืองเมกกะ  3  ไมล์  คืนหนึ่งของเดือนรอมาฎอน เทพญิบรออิล ซึ่งเป็นทูตสวรรค์ ได้ยื่นโองการสวรรค์ให้แก่ท่าน  ท่านจึงคิดว่า ตนเองจิตฟั่นเฟือน  ต่อมาได้รับโองการสวรรค์อีก ท่านจึงได้เริ่มประกาศศาสนา
     ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า "แท้จริงศาสนาแห่งอัลเลาะห์นั้น คือ ศาสนาอิสลาม" แสดงว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า  ไม่ใช่ศาสนา ที่มนุษย์ตั้งขึ้น  คำสอนในศาสนาอิสลา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดามูฮำหมัด พระศาสดามูฮำหมัด มิได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้น  พระองค์ เป็นเพียงผู้รับเอา ศาสนาอิสลาม อันเป็นของพระอัลเลาะห์ มาประกาศเผยแพร่แก่มนุษยชาติเท่านั้น
     ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า  พระอัลเลาะห์ ทรงสร้างโลก และสรรพสิ่งในจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมและเฮาวาฮ์ (อาดัมกับอีวา หรืออีฟ ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์) พระองค์ได้ตรัสว่า "โออาดัม  เจ้าและภรรยาของเจ้า จงพำนักอยู่ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองจงกินของในนั้นได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องหวงห้าม  ตามที่เจ้าทั้งสองต้องการ  แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ เพื่อเจ้าทั้งสอง จะได้ไม่เป็นพวกทรยศแต่แล้วมารร้าย ก็ได้ใช้อุบายหลอกลวง ให้มนุษย์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระผู้เป็นเจ้า  พระอัลเลาะห์ จึงทรงขับไล่ อาดัม และเฮาวาฮ์ไม่ให้อยู่ในสวรรค์  ให้ลงมาอยู่  ณ หน้าแผ่นดิน พระผู้เป็นเจ้า ทรงส่งพระศาสนทูต (รอซูล) ลงมาสั่งสอนมนุษย์เป็นครั้งคราว ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากพระอัลเลาะห์ให้มาเป็นพระศาสนทูต  นับแต่อาดัม ซึ่งถือว่าเป็นพระศาสนทูต คนแรก จนถึงพระศาสดามูฮำหมัด ศาสดาคนสุดท้าย มีจำนวนมากด้วยกัน  แต่ที่ระบุชื่ออยู่ในพระคัมภีร์อัลกรุรอานนั้น มี 25 ท่าน ในจำนวนนี้ ที่จัดว่าเป็น พระศาสนทูต  มี  5  ท่าน คือ
1.             นูห์  หรือโนอา
2.             อิบรอฮิม หรืออับราฮัม
3.             มูซา หรือโมเสส (ศาสดาของศาสนายิว)
4.             ฮีซา หรือเยซู (ศาสนดาของศาสนาคริสต์
5.             มูฮำหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม)
     ศาสนาอิสลาม ยอมรับคัมภีร์โตราห์หรือคัมภีร์เก่าของยิว ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่พระศาสดามูซา (โมเสส)  และเรียกคัมภีร์โตราห์ว่า "พระคัมภีร์เตารอด" และยอมรับคัมภีร์พระคริสต์ธรรมใหม่  เฉพาะ  4  เล่มแรก ที่เรียกว่าGospel (พระวรสาร) ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่พระศาสดาอีซา (เยซู) และเรียกคัมภีร์ ของคริสต์ว่า "พระคัมภีร์อินญีล" ดังปรากฏ ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 3 : 3 ว่า พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ (อัลกุรอาน) ให้ทยอยลงมายังเจ้าโดยสัจธรรม เป็นสิ่งยืนยันคัมภีร์ ที่มีมาก่อน และพระองค์ได้ประทาน (คัมภีร์) เตารอด และอินญิล ลงมาเพื่อกาลก่อน เป็นสิ่งชี้นำแก่มวลมนุษยชาติ และพระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์ จำแนก (ความจริงออกจากความทุกข์) คือ คัมภีร์อัลกุรอาน


พระคัมภีร์อัลกุรอานของศานาอิสลาม
     ศาสนาอิสลา ถือว่า โมเสสและพระเยซู เป็นผู้ที่พระอัลเลาะห์ ทรงใช้ให้มาก่อน และถือว่าพระศาสดามูฮำหมัด ที่ทรงใช้ให้มาในคราวหลังนี้ เป็นผู้นำพระคัมภีร์ ฉบับสุดท้าย  เป็นพระคัมภีร์ที่ประมวลเอาเนื้อความแห่งพระคัมภีร์ต่าง ๆ  ที่ประทาน แก่ศาสนทูตในอดีตไว้ด้วย  คัมภีร์อัลกุรอาน จึงเป็นพระคัมภีร์ที่สมุบูรณ์ ไม่มีการแก้ไข
     การประกาศศาสนาในนครเมกกะ ช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก ต้องทำกันอย่างเร้นลับ และเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนบางกลุ่มเสียผละประโยชน์ และบางคนไม่พอใจท่านศาสดา ที่สอนว่า การบูชารูปเคารพ เป็นสิ่งงมงาย ท่านนะบี จึงถูกปองร้าย ท่านจึงอพยพมาอยู่เมือง ยัทริบ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อเมืองเมดินา) การอพยพครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม  พ.ศ. 1165 (ค.ศ. 622) ถือเป็นการเริ่มต้นของฮิจเราะห์ศักราชอิสลาม (ซึ่งก็คือศักราชของอิสลาม) แม้จะพำนักที่เมืองเมดินา  แต่กองทัพเมืองเมกกะ ก็ยังรุกรานอยู่ ต่อมาท่านนะบี ได้เป็นผู้ปกครองเมืองเมดินา สงครามระหว่างเมืองเมกกะกับเมืองเมดินา ก็เกิดขึ้นหลายครั้ง  จนกระทั่ง  พ.ศ. 1173  ท่านได้ยาตราทัพเข้าเมืองเมกกะ โดยไม่มีการสู้รบ ศาสนาอิสลาม จึงได้สถาปนาขึ้นในเมืองเมกกะ และสถาปนา อาณาจักรของชาวอาหรับขึ้น ท่านนะบี ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 1175  ตรงกับฮิจเราะห์ศักราชที่  11  รวมอายุ  63  ปี  และเผยแพร่ศาสนาอิสลามได้ 23 ปี
     ท่านะบีมูฮำหมัด เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย  ไม่ถือยศศักดิ์  อยู่ง่ายกินง่าย (แม้กระทั่งเสื้อผ้าและรองเท้า จะซ่อมแซมเอง) อดทน มีจิตใจเข้มแข็ง  รักความยุติธรรม มีบุคลิกน่าเลื่อใส  ฯลฯ  จากคุณสมบัติที่ดีเลิศ  จึงทำให้การ เผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นไปอย่างราบรื่น  แม้จะมีอุปสรรคนานัปการ
มุสลิม บอกว่า ไม่ใช่สัญลักษณ์
ความหมาย : น่าจะหมายถึง คืนที่พระศาสดามูฮ้ำหมัด อพยพไปอยู่เมือง ยัทริบหรือเมืองเมดินา แต่ชาวมุสลิม บอกว่า นำมาใช้เพื่อนเป็นเครื่องบอกให้ทราบว่าเป็นมุสลิมหรือเป็นของมุสลิม หรือหมายถึง เดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนถือศีลอด
หมายเหตุ : สัญลักษณ์ ก็แปลว่า  เครื่องหมายเหมือนกัน
หลักคำสอนในศาสนาอิสลาม
     1. หลักศรัทธา  6  ประการ  ซึ่งเรียกว่า อีมาน  แปลว่า ความเชื่อถือ  ได้แก่
  • ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า พระอัลเลาะห์ (ซุบป์)ต้องศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว ไม่ตั้งสิ่งอื่นใด ขึ้นเป็นภาคี ทำการเคารพสักการะพระเจ้า
  • ศรัทธาในบรรดามลาอิกะห์  ซึ่งเป็นบ่าว ของพระเจ้าประเภทหนึ่ง
  • ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ อัลกุรอาน  ซึ่งศาสนา อิสลาม เชื่อว่า เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย  ที่พระผู้เป็นเจ้า ประทานลงมาให้มนุษย์ โดยผ่าน ทางศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ)
  • ศรัทะาต่อบรรดาศาสนทูต (รอซูล) ของอัลเลาะห
  • ศรัทธาในวันพิพากษา (เว้นกิยามะห์) ชาวมุสลิม ต้องศรัทธาว่า โลกนี้ (โลกตุนยา) เป็นโลกแห่งการทดลอง เป็นโลกที่ไม่จีรัง จะต้องมีวันแตกสลาย  ซึ่งวันนั้นเรียกว่า วันกิยามะห์ หรือวันแห่งการพิพากษา เป็นวันสุดท้ายของมนุษยชาติ เป็นวันที่มีจริง การใช้ชีวิตของมุสลิมนั้น เขาจะตระหนักอยู่เสมอ ว่า เขาจะต้องฟื้นขึ้นมาใหม่ในวันกิยามะห์ เพื่อจะรายงานการกระทำของเขา ทั้งความดี และความชั่ว  ซึ่งจะเป็นการเตือนมุสลิมว่า การกระทำทุกขณะของเขาในโลกนี้ จะมีผลต่อเขา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วย
     2.  หลักปฏิบัติ  5  ประการ
      หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ภาคปฏิบัติ เรียกว่า  "อิบาดะห์"  แปลว่า  ปฏิบัติการภักดี  มี  5  ประการ คือ
  • ารปฏิญาณตน เป็นหัวใจของมุสลิม โดยการ กล่าวคำปฏิญาณว่า "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และแท้จริง มูฮำหมัด เป็นศาสนทูต (รอซูล) ของอัลเลาะห์
  • การละหมาด คือ การแสดงความเคารพต่อ พระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจ  โดยละหมาดวันละ 5 ครั้ง ครั้งละ ประมาณ 5 - 10 นาที่ คือ เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาดซุบป์ เริ่มตั้งแต่อรุณ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น  เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาดซุห์ร หรือดุฮริ เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ คล้อย จนถึงเวลาที่เงาของสิ่งของยาวเท่าตัว  เวลาบ่ายเรียกว่า ละหมาดอัชร์ อัศร หรือ อัศริ ตั้งแต่หมดเวลาละหมาดอุฮริ จนถึงเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  เวลาาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาดมัฆริบ ตั้งเแต่เวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนสิ้นแสงตะวันสีแดง  เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาดอิชาอ์ หรืออิชา ตั้งแต่สิ้นเวลาแสงตะวัน สีแดง จนถึงแสงเงินแสงทองขึ้น
  • การบริจาคชะกาด  หมายถึง การจ่ายทาน บังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบปี มีเกินจำนวน ที่กำหนดไว้ ให้แก่คนที่มีสิทธิ์รับซะกาด ตามอัตราที่กำหนด เป็นการฝึกความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เป็นทาสของวัตถุ
  • การถือศีลอด คือ การงดเว้นจากการบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม  การร่วมสังวาส  การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำชั่ว ทั้งด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ตั้งแสงอรุณขึ้น จนกระทั่งหมดแสง เพื่อให้มีความ หนักแน่นอดทน ให้ทุกคนรู้รสชาติ ของความหิวโหย เพื่อจะได้เห็นอกเห็นใจคนจน
  • การประกอบพิธีฮัจญ์  ฮัจญ์ แปลว่า การมุ่งไปสู่ หรือการไปเยือน หมายถึง การเดินทางไป ประกอบศาสนกิจ ณ อัลกะบะห์ หรือบัยดุลลอห์ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตามอย่างที่ท่านศาสดามูฮำหมัด ได้กระทำไว้

นิกายในศาสนาอิสลาม
     การแยกนิกายของศาสนาอิสลาม มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ได้เกิดจาก ความขัดแย้งเรื่องคำสอน หรือหลักปฏิบัติในศาสนกิจ แต่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง การปกครอง กล่าวคือ ผู้นำของโลก มุสลิม นอกจากจะเป็นผู้นำด้าน ศาสนจักรแล้ว ยังเป็นผู้นำอาณาจักร ในเวลาเดียวกันด้วย เมื่อท่านนะบี มูฮำหมัดถึงแก่กรรม  จึงหาข้อยุติไม่ได้ นำไปสู่การแตกแยก และก่อตั้งลัทธิ ต่าง ๆ  ลัทธิที่สำคัญ มีดังนี้
1.             นิกายซุนนี (Sunni)ยอมรับผู้นำ 4 คนแรก หลังมรณกรรมของท่าน ศาสดาว่า เป็นผู้นำแห่งโลก มุสลิมแท้จริง  คำว่า ซุนนี หรือ สุหนี่  มีรากศัพท์ มาจากภาษาอาหรับว่า ซุนนะห์ แปลว่า จารีต คือ การปฏิบัติตามแนวคำสอน ของท่านศาสดา ยึดคัมภีร์ อัล-กุรอานเป็นสำคัญ นิกายนี้ มีผู้นับถือมากที่สุด ใช้หมวกสีขาวเป็น สัญลักษณ์ ยกย่องกาหลิบ หรืออิหม่าม เป็นผู้สืบทอด ศาสนาจากท่านศาสดา กาหลิบคนแรก คือ อาบูบากร์ ซึ่งเป็นพ่อค้า ของท่านศาสด ผู้ที่มีเชื้อสาย ของอาบูบากร์ คือ กาหลิบ ที่แท้จริง
2.             นิกายชิอะห์ (Shiah) หรือมะงุ่น นิกายนี้ ยอมรับ ท่านอาลี ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม และเป็นบุตรเขยของท่าน นะบีมูฮำหมัด ว่าเป็นผู้นำโลก มุสลิมอย่างแท้จริง มีสัญลักษณ์ คือ หมวกสีแดง พิธีที่สำคัญของนิกายนี้ คือ พิธีเต้นเจ้าเซน ในเดือน โมหรั่ม เพื่อรำลึกถึง วันสิ้นชีพของบุตร ของท่านอาลี
3.             นิกายวาฮะบี (Wahabi) ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้ คือ มุฮัมหมัด  บินอับดุล วาฮับ เกิดขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2234 - 2299 นิกายนี้ปฏิเสธ ไม่ยอมรับความคิดเห็น ของผู้ใดทั้งสิ้น นอกจาก พระคัมภีร์อัล-กุรอาน และพระวจนะของท่าน ศาสดา  จุดประสงค์ของนิกายนี้ ต้องการให้ศาสนาอิสลาม บริสุทธิ์ เหมือนยุคที่ท่าน ศาสดายังมีชีวิตอยู่ จึงตีความ จากคัมภีร์อัล-กุรอาน ตามตัวอักษรทุกประการ ปฏิเสธคำอธิบาย ของนิกาย ซุนนี ไม่ยอมรับอิหม่าม หรือนักปราชญ์ ของศาสนาอิสลาม ไม่นับถือนะบี หรือกาหลิบ องค์ใดว่า เป็นผู้สืบต่อศาสนา เพราะเท่ากับเป็นการยกย่อง ให้มีฐานะเท่าเทียม กับพระอัลเลาะห์ ไม่ยอมให้มี การทำพิธีกรรมใด ๆ  ที่นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ ในคัมภีร์อัล-กุรอาน เพราะถือว่า เป็นการต่อเติม ศาสนาให้มัวหมอง
4.             นิกายคอวาริจ (Kowarige)นิกายนี้ ถือว่า ผู้นำโลก มุสลิม ต้องมาจากการเลือกตั้ง
     คัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์ ภาษาอาหรับ ที่พระเจ้าประทาน แก่ศาสดามูฮำหมัด เมื่อประมาณ 1,400 ปีมาแล้ว ซึ่งมุสลิมทั่วโลก ถือว่า คัมภีร์ เล่มนี้ เป็นธรรมนูญแห่งชีวิต ตราบจนทุกวันนี้  แบ่งออกเป็นบท รวมทั้งหมด  144 บท  แต่ละบท เรียกว่า "ซูเราะห์" ซึ่งมีควายาว ไม่เท่ากัน  โดยมีจำนวนวรรค มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันออกไป และแต่ละวรรค เรียกว่า "อายะห์"

รายงานเรื่อง
1.             ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลาม
2.             อธิบายการบริจาคซะกาดและการประกอบพิธีฮัจญมาให้ถูกต้อง

3.             ศาสนาอิสลามมีกี่นิกาย แต่ละนิกายมีความสำคัญอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บทความดีๆ อิสลามสอนคุณ 10 ประโยคที่ไม่ควรพูดกับพ่อแม่นะจ้า

                                                      บทความดีๆ อิสลามสอนคุณ
  
                                                   10 ประโยคที่ไม่ควรพูดกับพ่อแม่  
1.พอแล้วๆ รู้แล้ว จู้จี้จริงๆ พูดอยู่นั่นแหละ!2.มีอะไรอีกไหม ไม่มีอะไร จะวางสายละนะ!   (ที่พ่อแม่โทรมา ก็เพราะอยากจะได้ยินเสียงลูก อยากถามไถ่ความเป็นอยู่ อย่าได้เห็นเป็นเรื่องน่ารำคาญ ทีพูดกับเพื่อนกับแฟนยังพูดได้เป็นชั่วโมง)3.พูดยังไงพ่อกับแม่ก็ไม่เข้าใจหรอก ไม่ต้องถามแล้วนะ!4.บอกพ่อกับแม่กี่ครั้งแล้วว่าอย่าทำ ถึงทำไปก็ไม่เห็นจะดีอะไรเลย!  (พ่อแม่แก่เฒ่า มีใจแต่ไร้กำลัง แต่การที่พูดแบบไม่คิดอย่างนี้ กลับกลายเป็นการทำร้ายจิตใจของท่านแทน)5.ความคิดแบบนี้มันโบราณไปแล้ว ยุคนี้ทำอย่างนี้ไม่ได้หรอก!  (คำแนะนำของพ่อแม่อาจจะช่วยอะไรเราไม่ได้ แต่ทำไมเราไม่เปลี่ยนมาเป็นรับฟัง อย่างน้อยอาจมีสิ่งดีๆที่เราคาดไม่ถึง ออกมาจากประสบการณ์ของพ่อแม่ก็เป็นได้)6.บอกกี่ครั้งแล้วว่าไม่ต้องเข้ามาจัดห้อง เห็นไหมล่ะ! หาของไม่เจออีกแล้ว วันหลังไม่ต้องยุ่ง! (ห้องรก ต้องรู้จักจัดเก็บ ไม่จัดเก็บให้ดี ก็อย่าได้โทษพ่อกับแม่)7.ผมรู้ว่าผมจะกินอะไร วันหลังไม่ต้องทำเผื่อ!  (พ่อแม่เฝ้ารอคอยลูกๆกลับบ้าน ความรักความอาทรถูกเติมลงไปในอาหารที่ทำ จงรับเอาความห่วงหาอาทรนี้ไว้เถิด อย่าทำร้ายน้ำใจของท่านเลย มีคนจำนวนเท่าไหร่ที่อยากทานอาหารที่พ่อแม่ปรุงให้ แต่ไม่มีโอกาสนั้นแล้ว!)8.บอกกี่ครั้งแล้วว่าอย่ากินของที่เหลือ บอกแล้วไม่รู้จักจำ   (พ่อแม่ประหยัดกินประหยัดใช้จนเป็นนิสัย บอกท่านทำให้น้อยลง ดีกว่าให้ท่านเป็นคนเก็บของเก่ามากินเอง)9.ผมโตแล้ว ผมรู้ว่าผมจะต้องทำยังไง พูดอยู่ได้ รำคาญ!10.ของเก่าๆพวกนี้เก็บไว้ทำไม รกบ้านเปล่าๆ ใช้การอะไรก็ไม่ได้!  (มันอาจจะไร้ค่าสำหรับเรา แต่มันอาจมีค่าสำหรับพ่อแม่ของแต่ละชิ้น ล้วนมีประวัติศาสตร์ เราไม่ดีใจเหรอ ของที่เราใช้ในตอนเด็ก วันนี้มันยังอยู่กับเรา?)
10 ประโยคนี้ เราอาจเคยพูดกับพ่อแม่ คุณๆทั้งหลายครับ อย่ารอจนถึงวันที่เรารู้คุณค่าแต่ท่านไม่อยู่เสียแล้ว...

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

สำคัญที่ลิ้น

                                                                           
                                                ว่าด้วยลิ้น


นักปราชญ์กล่าวไว้ว่า... ลิ้นที่สุภาพเป็นต้นไม้แห่งชีวิต
                                แต่ลิ้นตลบตะแลงทำน้ำใจให้แตกสลาย .

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

STC เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ปี 2557(วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม)

รับสมัครนักศึกษาโดยตรง
นักศึกษาที่ต้องการเรียน คณะอะไร สาขาใด เลือกเรียนได้ตามใจชอบ ตามถนัด เพราะวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้ที่แตกต่าง มีกองทุนกู้ยืม กยศ. และกรอ. รับสมัครวันนี้ สิงหาคม 2557 สะดวกเรียนคณะใด สาขาใด เลือกได้ตามความสนใจครับ (ต้องการสิทธิพิเศษสมัครในระยะเวลาที่กำหนด)
สนใจติดต่อ
อ.ยุทต์  
โทร 086-983-6514
อาจารย์ประจำสำนักศึกษาทัวไป

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานวิจัย : ดร. นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ

(ชื่อบทความภาษาไทย) การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ตามแนวทาง  
                                          พระพุทธศาสนา
(ชื่อบทความภาษาอังกฤษ) The Construction  and  Development  of  Models  for  youths’ Violent  Behaviors  Adjustment  According  to Buddhist  Approaches.
ชื่อผู้วิจัย : ดร. นิเวศน์   วงศ์สุวรรณ
ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักสามัญศึกษา

บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น สร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น และประเมินผลการใช้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยดำเนินการวิจัยตามแบบแผนวิจัย One Group Pretest-Posttest Design ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวะจำนวน ๓๐ คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ t-test โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ ๙๕ %

                ผลการศึกษาพบว่า
                ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๙๐ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๖๐.๐ มีผลการเรียนระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ ร้อยละ ๕๐.๐ เป็นบุตรคนที่ ๑  ร้อยละ ๔๐.๐ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่าง ๔,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๖.๗ พ่อมีอาชีพรับจ้าง/ค้าขาย ร้อยละ ๔๓.๓ แม่มีอาชีพรับจ้าง และร้อยละ ๘๓.๓ พ่อแม่อยู่ด้วยกัน
                สำหรับความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์  ด้านการเป็นเพื่อนที่ของเพื่อน ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ด้านการเป็นสาวกที่ดีพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา หลังจากอบรม ตามโปรแกรมไตรสิกขาตามแนวพุทธ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกด้าน
                ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๔ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี  ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี  ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี  ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดีของบิดามารดา  ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
                ข้อเสนอในการวิจัยครั้งนี้
สถานศึกษา และครู ควรมีนโยบายให้ผู้เรียนในโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของพฤติกรรมความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสถานบันและพฤติกรรมของผู้เรียนโดยมีการนำโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรวมถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในสถานศึกษา สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือนหรือมากกว่านั้น และควรมีการนำรูปแบบ (Model) การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ

คำสำคัญ : พฤติกรรมความรุนแรง
                                                                        ABSTRACT
            The research studies in this time for youth behavior violent learning growing and developing reduction for youth behavior violent using along by three signs program in Buddhism where as Quasi-Experimental Research . Along by capacity of One Group Pretest Posttest Design, some of example with 30 higher Education students. The data’s were analyzed by consist of the questionnaire for violent acknowledgement  of the questionnaire for violent opinion and three signs program in Buddhism  such as frequency percentage, mean  (), standard deviation (S.D.), t-test. The level of significance was used to test hypothesis at ๙๕ %  
According to the hypothesis of this research the results had found that.
All communities had been found that, almost the answers are women frequency percentage  ๙๐ were men and ๖๐.๐ has been of evaluate frequency percentage ๒.๕๑-๓.๕๐ almost percentage ๕๐.๐ had been the first child, frequency percentage ๔๐.๐ had been for expenditure  between ๔,๐๐๑ ๖,๐๐๐ Bath, frequency percentage  ๓๖.๗ their father had earned money by general work and sale  frequency percentage  ๔๓.๓ their mother had earned money by general work and frequency percentage  ๘๓.๓ their parents had been together.
On the other hand, the comprehensions for youth behavior violent parts namely, in the case of good children for father and mother, in the case of good student for teacher, in the case of good friend for friend, in the case of good citizen for country, and in the case of good for the Buddhist. According to the three sings program in Buddhism   had been found that some of example group could know youth behavior violent learning all increase.
For comparison youth behavior violent study to reduce youth behavior violent pre and post test for youth behavior violent  and evaluate for youth behavior violent  using along by three signs program in Buddhism. The different had found that hypothesis by four parts namely in good children for father and mother, in good student for teacher, in good friend for friend, in good citizen for country, and in good for the Buddhist. For skill to control youth behavior violent had some different hypothesis two parts namely, in the case of good children for father and mother and in the case of good for the Buddhist.
The suggestions for this research
            College and teachers should have some policy for students learning about institute and for youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent using along by three sings program in Buddhism  include teaching and do activity. For next studying should be have some model youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent  using along by three signs program in Buddhism  for improve with another groups.

Keywords : Violent Behavior


๑. บทนำ            
๑.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
วิกฤติปัญหาศีลธรรมกำลังเป็นภัยคุกคามอิสรภาพของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขของคนในสังคม โดยเฉพาะเมื่อระบบทุนนิยม และการบริโภคนิยมได้เข้ามาสู่วิถีชีวิตของคนผ่านช่องทางของการสื่อสารที่ไร้พรหมแดนทำให้คนในสังคมบางกลุ่มขาดการใช้ปัญญากลั่นกรองข้อมูลที่เข้ามาอย่างเป็นระบบ จนทำให้เกิดปัญหาวิกฤติการดำเนินชีวิตของบุคคล ขณะเดียวกันดูเหมือนว่าความรุนแรง  ดังกล่าว จะได้รับความสนใจจากสถาบันทางสังคมน้อย  อีกทั้งความเข้าใจผิดของผู้นำทางสังคม ที่เชื่อว่าการแก้ไขความรุนแรงนั้น สามารถแก้ได้ด้วยการใช้เทคโนโลยี การใช้เงินงบประมาณ การใช้กฎหมายบังคับ รวมถึงการใช้อำนาจทางการบริหารในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้  ซึ่งจากการใช้เครื่องมือและกระบวนการดังกล่าว สามารถแก้ไขปัญหาทางศีลธรรมได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ขณะเดียวกันยังก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีก  ซึ่งถ้าสถาบันทางสังคมยังให้ความสำคัญกับความรุนแรงน้อยอยู่ ก็ยากที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในสังคมได้
                      การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของมนุษย์  มนุษย์ จึงเป็นปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและเป็นเป้าหมายของการพัฒนา โดยเฉพาะกลุ่มของวัยรุ่น เมื่อพิจารณา จากสถานการณ์พฤติกรรมของวัยรุ่นไทยขณะนี้ พบว่ายังอยู่ในภาวะที่อ่อนแอและน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง  เห็นได้จากปรากฏการณ์ความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนร่วม  เช่น พฤติกรรมค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติด การก่ออาชญากรรมทางเพศ และการกระทำความรุนแรง เป็นต้น และดูเหมือนว่าการกระทำความความรุนแรงของวัยรุ่นยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น  เห็นได้จากสื่อมวลชนต่าง ๆ ที่ตีแผ่พฤติกรรมของวัยรุ่น
พฤติกรรมที่เป็นความรุนแรงของวัยรุ่นที่แสดงออกต่อตนเองและสังคมนั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายในและภายนอก ที่ผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อนที่อยู่เหนือภาวะ  ความถูกต้องทางศีลธรรม โดยเฉพาะปัจจัยภายในที่เป็นตัวตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นที่ปราศจากปัญญาเป็นตัวควบคุม  ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ถ้าจะกล่าวถึงโครงสร้างทางสังคมก็เริ่มตั้งแต่การกำหนดนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งหวังความเจริญด้านเศรษฐกิจมากเกินไป ทำให้คนในสังคมแสวงหาความอยู่รอดทางกายภาพมากกว่าสภาวะทางจิต ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดปัญหาเรื่องค่านิยม  ยาเสพติด อาชญากรรมทางเพศ และการกระความรุนแรง ซึ่งปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่เกิดจากความเจริญทางด้านวัตถุ ทำให้มนุษย์แสวงหาความสุขทางกายจนนำมาสู่การขาดดุลความสุขทางจิตใจ
แนวทางการแก้ความรุนแรงของวัยรุ่นนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันต่างๆในสังคมต้องกลับมาดูพื้นฐานทางโครงสร้างการอบรมเลี้ยงดู การให้การศึกษา การสร้างกิจกรรมพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้ครบวงจร เป็นการรวบรวมหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นองคาพยบ ทำงานเป็นทีม ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคมมนุษย์ ที่เป็นเบ้าหล่อหลอทรัพยากรบุคคลอันทรงคุณค่าของสังคม ประเทศชาติต่อไป  เพราะฉะนั้นผู้ปกครอง ต้องให้การศึกษา อบรมสั่งสอน และส่งเสริมให้วัยรุ่นได้แสดงออกทางศีลธรรมที่ถูกต้องและส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมให้มาก เพื่อสร้างทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างจิตอาสาให้เกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการอบรมสั่งสอน เพื่อให้วัยรุ่นสร้างจิตเมตตาเกิดขึ้นในสภาวะของจิตใจได้ด้วยตนเอง สถาบันทางสังคมต้องสร้างความร่วมมือการให้โอกาสแก่วัยรุ่นได้พัฒนาสติปัญญาได้ตามศักยภาพของตน การดำเนินชีวิตอยู่ด้วยอุดมคติที่ประกอบด้วยจิตที่มีเมตตาจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติในปัจจุบันและอนาคต
                   วิธีการที่จะช่วยลดพฤติกรรมการกระทำความรุนแรงของวัยรุ่นลงได้นั้น อาจจะทำได้หลายวิธี เช่น การออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย ข้อห้าม ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการควบคุมพฤติกรรมภายนอกของวัยรุ่น อีกวิธีหนึ่งก็คือการให้ความรู้ ปลูกฝัง ค่านิยม ทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตที่ดีงาม การฝึกอบรมเพื่อให้มีทักษะในการควบคุมตนเองก็เป็นการพัฒนาปัจจัยภายในของบุคคล ตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ได้มีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบที่เรียนว่า ไตรสิกขา ซึ่งเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมการพัฒนามนุษย์อย่างครอบวงจร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มุ่งสร้างรูปแบบและหาประสิทธิผลของรูปแบบการฝึกอบรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น   ๔ ระยะ คือ
                      ระยะที่ ๑ ดำเนินการระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน ๒๕๕๕  เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
                      ระยะที่ ๒ ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึง ธันวาคม ๒๕๕๕  เป็นการสร้างโปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฏี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมตามแนวพระพุทธศาสนา มาประมวลผลและจัดทำเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพวุฒิภาวะของวัยรุ่น
                      ระยะที่ ๓ ดำเนินการ ระหว่าง เดือน มกราคม ๒๕๕๖ ถึง มีนาคม  ๒๕๕๖ เป็นการทดลองและประเมินรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่สร้างขึ้น เพื่อให้พฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมความรุนแรงลดลง การวัดประสิทธิผลของรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยการวัดความแตกต่างของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการความรุนแรงของวัยรุ่นกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ภายหลังดำเนินการ
ระยะที่ ๔ ดำเนินการ ระหว่าง เดือน กันยายน ๒๕๕๕ ถึง พฤศจิกายน ๒๕๕๕ เป็นการเก็บข้อมูลหลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือน เพื่อศึกษาความคงอยู่ของ ความตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง ต่อจากนั้นจึงจะสรุปผลที่ได้จากการดำเนินงานทั้งหมดแล้วจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ต่อไป
                      กระบวนการพัฒนามนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาเป็นที่ยอมรับเบื้องต้นว่าสามารถพัฒนาบุคคลให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจได้ โดยเฉพาะการลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่น เช่น การกระทำความรุนแรงต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน สังคมประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา เป็นต้น  ซึ่งหากมีการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่ใช้กระบวนการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวัยรุ่นให้มีความเห็นที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต มีจิตที่ประกอบด้วยเมตตากรุณาต่อกัน ไม่คิดอิจฉาริษยา ซึ่งกันและกัน ถือได้ว่าเป็นความต้องการของคนทุกคนในสังคม เพราะฉะนั้นด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของบุคคลโดยใช้กระบวนการ การพัฒนาตามแนวพุทธแล้ว ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้กระบวนการพัฒนามนุษย์ ตามหลักไตรสิกขามาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนระดับอาชีวิศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของวัยรุ่น จึงได้กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ดังนี้
.๒ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑.๒.๑ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
๑.๒.๒ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
                ๑.๒.๓ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังเข้ารับการฝึกอบรม
.๓  สมมติฐานของการวิจัย
                นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมความรุนแรงลดลงหลังจากเข้ารับการฝึกอบรมตามโปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา
.๔  ขอบเขตการวิจัย
                      โครงการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมุ่งศึกษาผลของการใช้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยแบ่ง ระยะเวลาดำเนินการศึกษาวิจัย    แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ระยะที่ ๑ ดำเนินการระหว่าง เดือน กรกฎาคม ถึง กันยายน ๒๕๕๕  เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ระยะที่ ๒ ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึง ธันวาคม ๒๕๕๕  เป็นการสร้างและพัฒนาโปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฏี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมตามแนวพระพุทธศาสนา มาประมวลผลและจัดทำเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพวุฒิภาวะของวัยรุ่น  ระยะที่ ๓ ดำเนินการ ระหว่าง เดือน มกราคม ๒๕๕๖ ถึง มีนาคม  ๒๕๕๖ เป็นการทดลองและประเมินรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่สร้างขึ้น โดยการวัดความแตกต่างของความตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการเข้ารับการอบรม โดยได้กำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ดังนี้
๑.๔.๑  ขอบเขตด้านเนื้อหา
          ...๑ ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับพฤติกรรมการกระทำรุนแรงของวัยรุ่น จาก เอกสาร ตำราวิชาการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานศึกษา สถานีตำรวจ กรมสุขภาพจิต โรงพยาบาล   และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
           ...๒ สร้างและพัฒนาโปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามหลักไตรสิกขา
          ...๓ พฤติกรรมความรุนแรงของเด็กวัยรุ่น
..๒ ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                 ๑.๔.๒.๑ กลุ่มประชากร   
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)
๑.๔.๒.๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาคณะเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ) จำนวน ๓๐ คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นการวัดผลก่อนและหลังการเข้ารับการอบรม
๑.๔.๓ ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา
           ๑.๔.๓.๑ ตัวแปรอิสระ
            ๑.๔.๓.๑.๑ ข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลำดับการเกิด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย อาชีพของพ่อ อาชีพของแม่ และการอยู่ร่วมกันของพ่อแม่
             ๑.๔.๓.๑.๒ โปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนา
               ๑.๔.๓.๒ ตัวแปรตาม  ได้แก่ พฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
.๕ นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
         ๑.๕.๑ วัยรุ่น หมายถึง ผู้เรียนระดับอุดมศึกษาคณะเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)  จำนวน ๓๐ คน
๑.๕.๒ พฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น  หมายถึง  พฤติกรรมการกระทำความรุนแรงของวัยรุ่นที่มีต่อ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน สังคม และพระพุทธศาสนา โดยการแสดงอาการต่างๆ เช่น การดื่มสุรา การเล่นการพนัน การเล่นอินเตอร์เน็ต การเทียวกลางคืน การหนีพ่อแม่ไปเทียว การอยากรู้อยากลอง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การใช้ยาเสพติด การสูบบุหรี่ ขาดการควบคุมตนเอง การทำร้ายร่างกาย  การพกพาอาวุธ  ทำลายสิ่งของสาธารณะ การมีพฤติกรรมความก้าวราว การใช้กำลังประทุษร้าย บังคับ ขู่เข็ญ คุกคาม ทำอันตราย หรือ รบกวนก่อความรำคาญต่อร่างกายและจิตใจของตนเองและผู้อื่น
๑.๕.๓ โปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น หมายถึง  กระบวนการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยให้วัยรุ่นได้ทำกิจกรรมร่วมกันมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในกลุ่ม โดยใช้กระบวนการฝึกอบรมตามหลักไตรสิกขาบูรณาการกับวิถีชีวิตของวัยรุ่นประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ๓ แผนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การแสดงบทบาทสมมติบูรณาการแบบศีล  ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง  การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแบบบูรณาการ  แบบสมาธิ ใช้เวลา ๑๔ ชั่วโมงและการสร้างสถานการณ์กรณีตัวอย่างแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แบบปัญญา ใช้เวลา ๕ ชั่วโมง (กำหนดวันละ ๒ ชั่วโมง ในการจัดกิจกรรม) รวม ๒๔ ชั่วโมง  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
           ๑. การฝึกอบรมศีล  หมายถึง กิจกรรมที่มีการกำหนดสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับเนื้อหาของศีล ๕ ขึ้นมา และกำหนดบทบาทเฉพาะตัวให้แก่สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มแสดงบทบาทนั้น เป็นการแสดงที่ไม่มีการซ้อมล่วงหน้า แสดงบทบาทไปตามลักษณะนิสัยของตัวละครในสถานการณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และถือเอาการแสดงออกทั้งด้านความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้แสดงออกมาเป็นข้ออภิปราย เพื่อเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการกระทำความรุนแรงของคนในสังคมโดยเฉพาะวัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
           ๒. การฝึกอบรมสมาธิ หมายถึง วิธีการที่ทำให้สมาชิกกลุ่มวัยรุ่นได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมปฏิบัติฝึกสมาธิวิปัสสนากรรมฐานที่มีรูปแบบบูรณาการเข้ากับกระบวนการให้คำปรึกษากลุ่ม เพื่อวิเคราะห์อารมณ์สภาวะที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมาธิของสมาชิกกลุ่มวัยรุ่น แล้วนำเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษากลุ่ม โดยที่สมาชิกกลุ่มวัยรุ่นเกิดการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง หลังจากการฝึกสมาธิ มีปฏิสัมพันธ์ และเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่างสมาชิกกลุ่มเอง เพื่อใช้ลดพฤติกรรมกระทำความรุนแรงของวัยรุ่น
           . การฝึกอบรมปัญญา หมายถึง วิธีการที่ทำให้สมาชิกกลุ่มวัยรุ่นเกิดการเรียนรู้ โดยการใช้กรณีหรือเรื่องราวมี่เกิดขึ้นจิรง แล้วนำมาดัดแปลงและใช้เป็นตัวอย่างให้สมาชิกกลุ่มวัยรุ่นได้ศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายกัน สร้างความเข้าใจและฝึกฝนหาทางแก้ไขปัญหานั้น ๆ วิธีการนี้ช่วยให้สมาชิกกลุ่มวัยรุ่นได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลซึ่งกันและกัน รวมทั้งการนำเอากรณีต่าง ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับชีวิตจริงมาใช้ จะช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับความจริง และมีความหมายสำหรับสมาชิกกลุ่มวัยรุ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งกรณีตัวอย่างจะใช้เพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
๑.๕.๔ การลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงการกระทำความรุนแรงของผู้เรียนที่มีต่อพ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อน สังคมรอบข้าง และพระพุทธศาสนา ด้วยอาการต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมการดื่มสุรา การเล่นการพนัน การเล่นอินเตอร์เน็ต การเทียวกลางคืน การหนีพ่อแม่ไปเทียว การอยากรู้อยากลอง การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การใช้ยาเสพติด การสูบบุหรี่ ขาดการควบคุมตนเอง การทำร้ายร่างกาย การพกพาอาวุธ ทำลายข้าวของสาธารณะ การมีพฤติกรรมความก้าวราว การใช้กำลังประทุษร้าย บังคับ ขู่เข็ญ คุกคาม ทำอันตราย หรือ รบกวนก่อความรำคาญต่อด้านร่างกายและจิตใจของตนเองและผู้อื่น
.๖ ประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย
                    ๑.๖.๑ ได้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพุทธศาสนา
                    ๑.๖.๒ ได้ทราบประสิทธิผลของรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
                ๑.๖.๓ ได้ข้อมูลพื้นฐานสำหรับจัดทำชุดกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
                ๑.๖.๔ ได้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
. วิธีการทดลอง หรือ วิธีการศึกษา
                การศึกษาการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบทดสอบก่อน(Pre-test)และหลัง(Post-test) เพื่อสร้างรูปแบบ(Model)ในการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามหลักพระพุทธศาสนา โดยแบ่ง ระยะเวลาดำเนินการศึกษาวิจัย แบ่งออกเป็น ๔ ระยะ ระยะที่ ๑ ดำเนินการระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน ๒๕๕๕  เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ระยะที่ ๒ ดำเนินการระหว่างเดือน ตุลาคม ๒๕๕๕ ถึง ธันวาคม ๒๕๕๕  เป็นการสร้างและพัฒนาโปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น จากการทบทวนแนวคิด ทฤษฏี วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการฝึกอบรมตามแนวพระพุทธศาสนา มาประมวลผลและจัดทำเป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับสภาพวุฒิภาวะของวัยรุ่น  ระยะที่ ๓ ดำเนินการ ระหว่าง เดือน มกราคม ๒๕๕๖ ถึง มีนาคม ๒๕๕๖ เป็นการประเมินรูปแบบ(Model) การลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นที่สร้างขึ้น โดยการวัดความแตกต่างของความตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังดำเนินการ ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการเป็นขั้นตอน ดังต่อไปนี้
๓.๑ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัย One Group Pretest-Posttest Desigh  โดยมีรูปแบบในการวิจัย ดังนี้
          สัญลักษณ์ที่ใช้ในรูปแบบการวิจัย
T  หมายถึง         การทดสอบก่อนการจัดโปรแกรมอบรมไตรสิกขา
                X   หมายถึง    การจัดการอบรมเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมอบรมไตรสิกขา
             T   หมายถึง      การทดสอบหลังการจัดโปรแกรมอบรมไตรสิกขา
   ๓.๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
ประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)              
กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาคณะเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  จำนวน ๓๐ คน  ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง วัดผลก่อนและหลังการดำเนินการฝึกอบรม
๓.๓  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้วัดประสิทธิผลของรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น คือ แบบสอบถาม ประกอบด้วย ๔ ส่วน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
          ส่วนที่ ๑ เป็นข้อคำถาม เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล มีจำนวน ๒ ข้อ ได้แก่ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลำดับการเกิด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย อาชีพของพ่อ อาชีพของแม่และการอยู่ร่วมกันของพ่อแม่ เป็นข้อคำถามลักษณะให้เลือกตอบ
               ส่วนที่ ๒ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง  ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาตามนิยามศัพท์และการทบทวนวรรณกรรม  มีข้อคำถามทั้งหมด  จำนวน ๓๘ เป็นข้อคำถามซึ่งมีลักษณะข้อคำถามให้เลือกตอบ (Check-lists) โดยมีคำตอบให้เลือกตอบ ๒ ตัว (ใช่/ไม่ใช่) แต่ให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียว ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้
                        ใช่                   ให้           ๑             คะแนน
                        ไม่ใช่              ให้           ๐             คะแนน
                        ส่วนที่ ๓ เป็นข้อคำถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อความรุนแรง ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาตามนิยามศัพท์และการทบทวนวรรณกรรม  มีข้อคำถามทั้งหมด จำนวน ๒๔ ข้อ ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี ๕ ระดับดังนี้
เห็นด้วยอย่างยิ่ง   หมายถึง                เห็นด้วยมากที่สุด  หรือเหมาะสมมากที่สุด
เห็นด้วยมาก   หมายถึง     เห็นด้วยมาก  หรือเหมาะสมค่อนข้างมาก
ไม่แน่ใจ  หมายถึง เห็นด้วยปานกลาง  หรือเหมาะสมปานกลาง
เห็นด้วยน้อย  หมายถึง      เห็นด้วยน้อย  หรือเหมาะสมค่อนข้างน้อย
ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง  หมายถึง           เห็นด้วยน้อยที่สุด  หรือเหมาะสมน้อยที่สุด
ให้ผู้ตอบเลือกตอบเพียง ๑ ตัวเลือก  เกณฑ์การให้คะแนนข้อความที่แสดงทัศนคติต่อความรุนแรงของวัยรุ่น จะได้คะแนนจาก ๕ ถึง ๑ สำหรับคำตอบเห็นด้วยมากที่สุดถึงเห็นด้วยน้อยที่สุดตามลำดับ  ส่วนข้อความตรงกันข้ามจะได้คะแนนกลับกัน ผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้คะแนนมากจะมีทัศนคติต่อความรุนแรงดีกว่าผู้ที่ได้คะแนนน้อย เกณฑ์ในการประเมินระดับค่าคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติต่อความรุนแรง ผู้วิจัยได้กำหนดการแปลความหมายคะแนนแบบสอบถามใช้เกณฑ์ในการแปลความหมายตามเกณฑ์ของเบส(Best๑๙๘๑:๑๗๙๑๘๔ อ้างถึงใน เมธินี ก้อนแก้ว๒๕๔๖:๖๖) ดังนี้    
ส่วนที่ ๔ เป็นข้อคำถามเกี่ยวทักษะการควบคุมพฤติกรรมการกระทำความรุนแรง เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ   ชนิด  ๕  ตัวเลือก  จำนวน ๑๙ ข้อ 
ลักษณะคำถามเป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) มี ๕ ระดับ  คือ
มากที่สุด  หมายถึง ข้อความนั้นตรงกับความเป็นจริงในระดับมากที่สุด
มาก  หมายถึง      ข้อความนั้นตรงกับความเป็นจริงในระดับมาก
ปานกลาง  หมายถึง            ข้อความนั้นตรงกับความเป็นจริงในระดับปานกลาง
น้อย  หมายถึง     ข้อความนั้นตรงกับความเป็นจริงในระดับน้อย
น้อยที่สุด หมายถึง ข้อความนั้นตรงกับความเป็นจริงในระดับน้อยที่สุด
                ให้ผู้ตอบเลือกตอบเพียง ๑ ตัวเลือก เกณฑ์การให้คะแนนข้อความที่แสดงถึงทักษะการควบคุมพฤติกรรมการกระทำรุนแรงของวัยรุ่น จะได้คะแนนจาก ๕ ถึง ๑ สำหรับคำตอบเห็นด้วยมากที่สุดถึงเห็นด้วยน้อยที่สุดตามลำดับ  ส่วนข้อความตรงกันข้ามจะได้คะแนนกลับกัน ผู้ตอบแบบสอบถามที่ได้คะแนนมากจะมีการควบคุมพฤติกรรมการการกระทำรุนแรงดีกว่าผู้ที่ได้คะแนนน้อย เกณฑ์ในการประเมินระดับค่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะการควบคุมพฤติกรรมการกระทำรุนแรง  ทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่น ผู้วิจัยได้กำหนดการแปลความหมายคะแนนแบบสอบถามใช้เกณฑ์ในการแปลความหมายตามเกณฑ์ของเบส (Best ๑๙๘๑: ๑๗๙๑๘๔อ้างถึงใน เมธินี ก้อนแก้ว ๒๕๔๖ : ๖๖) 
๓.๔  โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนา
                        โปรแกรมการฝึกการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวไตรสิกขาของวัยรุ่น เป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมาใช้ในการฝึกการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยให้วัยรุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกภายในกลุ่ม มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยใช้กิจกรรมกลุ่ม มีเทคนิคคือ กิจกรรมกลุ่ม บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง และ การให้คำปรึกษากลุ่ม โดยมีลำดับขั้นตอนในการสร้างดังนี้
       ๒.๑ ขั้นตอนในการดำเนินการ
        ๒.๑.๑ ศึกษาหลักธรรมไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา และแนวทางการปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา บทความ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น การจัดกิจกรรมกลุ่ม บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่าง และการหลักสูตรการฝึกอบรมแบบต่างๆ  เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา           
        ๒.๑.๒ สร้างโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรม สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม ระยะเวลา สถานที่และการประเมินผล ให้สอดคล้องกับนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
        ๒.๑.๓ นำโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๓ ท่าน พิจารณาตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ กิจกรรม สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม ระยะเวลา สถานที่และการประเมินผล ให้สอดคล้องกับนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย จากนั้นผู้วิจัยนำโปรแกรมไปปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิต่อไป
        ๒.๑.๔ นำโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้ (Try Out) กับวัยรุ่นที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย
        ๒.๑.๕ โปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดลองเป็นระยะเวลา ๑๔ ครั้ง  ได้แก่ ครั้งที่ ๑ ปฐมนิเทศ และ ครั้งที่ ๑๔ ปัจฉิมนิเทศ ใช้เวลาเพียงครั้งละ ๑ ชั่วโมง  ส่วนครั้งที่ ๒-๑๓ ใช้เวลาครั้งละ ๒ ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จนถึง วันที่ ๒๙ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยแต่ละครั้งจะเป็นการให้ความรู้  ฝึกทักษะการควบคุมพฤติกรรม และฝึกกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ซึ่งประยุกต์กิจกรรมตามกระบวนการพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา ดังรูปตารางต่อไปนี้
                  ตาราง ๑ ระยะเวลาในการดำเนินการทดลองโปรแกรมการฝึกตามแนวไตรสิกขาเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
๓.๕  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบด้วย
        ๑. แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง
        ๒. แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง
        ๓. แบบสอบถามทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง
        ๔. โปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวทางพระพุทธศาสนา
๓.๖  การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน มิถุนายน ๒๕๕๕ ถึง มีนาคม ๒๕๕๖         โดยมีขั้นตอน ดังนี้ คือ
๑. ประสานผู้บริหารคณบดีคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ เหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินการศึกษา ขออนุญาตดำเนินการศึกษาวิจัย
         ๒.คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณลักษณะที่กำหนดและดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
         ลำดับที่หนึ่ง  เก็บข้อมูลทั่วไป  ความตระหนักรู้  ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรงของนักศึกษาก่อนทดลอง ด้วยแบบสอบถาม
        ลำดับที่สอง   ดำเนินการทดลองใช้โปรแกรมการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นกลุ่มทดลอง ความยาว ๒๔ ชั่วโมง จะมีการเรียนการสอนทั้งหมด ๑๒ ครั้ง สัปดาห์ละครั้ง ๆ ละ ๒ ชั่วโมง
         ลำดับที่สาม  หลังใช้โปรแกรมลดพฤติกรรมความรุนแรง ๑๒ ครั้งแล้ว ก็ดำเนินการเก็บข้อมูลทั่วไป ความตระหนักรู้  ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรงของนักศึกษาอีกครั้งทันที ด้วยแบบสอบถามชุดเดียวกันกับก่อนอบรม
        ลำดับที่สี่  สรุปผลที่ได้จากการดำเนินงานทั้งหมดแล้วจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
๓.๗ ขั้นตอนการสร้างและการนำรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงไปใช้
     ๑. ขั้นตอนการสร้างรูปแบบ
      สร้างรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามลำดับขั้นตอน ๖ ขั้นดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ ๑ ประชุมเตรียมทีมวิจัย และอบรมทีมวิจัย เกี่ยวกับรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ระเบียบวิธีวิจัย การใช้สถิติ
ขั้นตอนที่ ๒ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ ๓ ทีมวิจัยสร้างรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น
ขั้นตอนที่ ๔ ประชุมเชิงปฏิบัติการพระวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นและพัฒนาปรับปรุงให้สอดคล้องกับคำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
ขั้นตอนที่ ๕ ประชุมปฏิบัติการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบบรรยายในรายวิชา เพื่อร่วมพิจารณาให้ข้อเสนอแนะและพัฒนารูปแบบให้เป็นไปตามคำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย
ขั้นตอนที่ ๖ นำเสนอรูปแบบที่พัฒนาปรับปรุงให้ผู้เชี่ยวชาญ ๓ ท่านพิจารณา ดังนี้คือ
จัดทำรูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นเป็นแผนการเรียนรู้พร้อมสื่อประกอบ เพื่อนำไปทดลองใช้ในการศึกษาระยะที่  ๓ ต่อไป
๒.     ขั้นตอนการนำรูปแบบไปใช้
ขึ้นตอนนี้กลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการลดพฤติกรรมความรุนแรง ตามที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ที่  ๑ การฝึกอบรมศีล ที่  ๒  การฝึกอบรมสมาธิ และที่  ๓  การฝึกอบรมปัญญา
สำหรับการนำรูปแบบไปใช้นั้น ผู้วิจัยได้กำหนดเป็นปฏิทินการดำเนินการ ๑๔ ครั้ง  ได้แก่ ครั้งที่ ๑ ปฐมนิเทศ และ ครั้งที่ ๑๔ ปัจฉิมนิเทศ ใช้เวลาเพียงครั้งละ ๑ ชั่วโมง  ส่วนครั้งที่ ๒-๑๓ ใช้เวลาครั้งละ ๒ ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่วันที่  ๑ เดือน มิถุนายน  พ.ศ. ๒๕๕๕ จนถึง วันที่ ๒ เดือน มีนาคม  พ.ศ. ๒๕๕๖
                การเก็บข้อมูลจะดำเนินการทั้งก่อนและหลังการฝึกอบรมเพื่อหาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรม ต่อจากนั้นจึงจะสรุปผลที่ได้จากการดำเนินงาน แล้วจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ต่อไป
๓.๘ การวิเคราะห์ข้อมูล
คำตอบที่ได้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ลงรหัส บันทึกคำตอบในคอมพิวเตอร์ และนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
๓.๘.๑ แจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ (%) ได้แก่  เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ลำดับการเกิด ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย อาชีพของพ่อ อาชีพของแม่และการอยู่ร่วมกันของพ่อแม่
๓.๘.๒ หาค่าเฉลี่ย  (  )   และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.)    ได้แก่ ความตระหนักรู้ความรุนแรง ทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง
            ๓.๘.๓ เปรียบเทียบ ก่อนและหลังดำเนินการ โดยการทดสอบกลุ่มเดียวกันก่อนและหลัง ด้วย Paired simples t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ด้วย independent simples t-test กำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕
. ผลการทดลองและวิจารณ์ผล หรือ ผลการศึกษาและอภิปรายผล
                การศึกษาครั้งนี้ เป็นการสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นและเพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นรวมทั้งเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวไตรสิกขาของพระพุทธศาสนาเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยให้วัยรุ่นมีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกภายในกลุ่ม มีการทำกิจกรรมร่วมกันโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม มีเทคนิคคือกิจกรรมกลุ่ม บทบาทสมมติ กรณีตัวอย่างและการให้คำปรึกษากลุ่ม โดยโปรแกรมการฝึกอบรมตามแนวไตรสิกขาทางพระพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดลองเป็นระยะเวลา ๑๔ ครั้ง ได้แก่ครั้งที่ ๑ ปฐมนิเทศ และครั้งที่ ๑๔ เป็นการปัจฉิมนิเทศ ใช้เวลาในการฝึกอบรมครั้งละ ๑ ชั่วโมง ส่วนครั้งที่ ๒ ๑๓ ใช้เวลาครั้งละ ๒ ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕ จึงถึงวันที่ ๑ เดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยแต่ละครั้งจะเป็นการให้ความรู้ ฝึกทักษะการควบคุมพฤติกรรมและฝึกกระบวนการคิดที่เป็นระบบ ซึ่งประยุกต์กิจกรรมตามกระบวนการพัฒนามนุษย์ตามหลักไตรสิกขา
                สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักศึกษาคณะเทคโนโลยีที่กำลังศึกษาอยู่ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จำนวน  ๓๐ คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการศึกษาก่อน (Pre-test) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และทำการศึกษาหลัง (Post-test) จากการเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ t-test โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ ๙๕ % ซึ่งผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
ส่วนที่  ๑  ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
                ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๙๐ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๖๐.๐ มีผลการเรียนระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ ร้อยละ ๕๐.๐ เป็นบุตรคนที่ ๑  ร้อยละ ๔๐.๐ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่าง ๔,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๖.๗ พ่อมีอาชีพรับจ้าง/ค้าขาย ร้อยละ ๔๓.๓ แม่มีอาชีพรับจ้าง และร้อยละ ๘๓.๓ พ่อแม่อยู่ด้วยกัน
ส่วนที่  ๒  ความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง
สำหรับความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง ผลการศึกษาทั้ง ๕ ด้าน ปรากฏว่าหลังจากการฝึกอบรมโดยใช้โปรแกรมการฝึกอบรมไตรสึกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนากลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกด้าน ดังนี้
                ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่หลังจากฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐๐.๐ ทุกข้อ
ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์หลังจากฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนามีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นรายข้อ ดังนี้ คือ ข้อที่ ๑ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๓ ข้อที่ ๒ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ ข้อที่ ๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔ ข้อที่ ๔ เท่าเดิม ข้อที่ ๕ เท่าเดิม ข้อที่ ๖ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ ข้อที่ ๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗ ข้อที่ ๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ข้อที่ ๙ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๔ ข้อที่ ๑๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗
ด้านการเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อนหลังจากฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนามีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นรายข้อ ดังนี้ คือ ข้อที่ ๑ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๔.๓ ข้อที่ ๒ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔ ข้อที่ ๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๖ ข้อที่ ๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ ข้อที่ ๕ เท่าเดิม ข้อที่ ๖ เท่าเดิม
ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติหลังจากฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนามีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นรายข้อ
ด้านการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนาหลังจากฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนามีความตระหนักรู้เพิ่มขึ้นรายข้อ ดังนี้ คือ ข้อที่ ๑ เท่าเดิม ข้อที่ ๒ เท่าเดิม ข้อที่ ๓ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๗.๗  ข้อที่ ๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ข้อที่ ๕ เท่าเดิม ข้อที่ ๖ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๔.๓ ข้อที่ ๗ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๐ ข้อที่ ๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ข้อที่ ๙ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๓ ข้อที่ ๑๐ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๔
ส่วนที่ ๓ การเปรียบเทียบผลการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวทางพระพุทธศาสนา
สำหรับผลการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนา ทั้ง ๖ ด้าน ปรากฏผลการศึกษาดังนี้ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่น ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig.=.๒๒๑)
                ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig. = .๐๒๖)
                ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig. = .๐๐๘)
                ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig. = .๐๑๙)
                ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง     ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวทางพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig. = .๑๓๑)
                ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง ก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ (Sig. = .๐๐๔)
                . สรุป
โดยสรุปผลการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวพระพุทธศาสนา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๔ ด้านคือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดี และด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
ข้อเสนอแนะ
                ข้อเสนอในการวิจัยครั้งนี้
                ๑. วิทยาลัยควรมีนโยบายสนับสนุนให้ผู้เรียนในวิทยาลัยตระหนักและเห็นความสำคัญของพฤติกรรมความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสถานบันที่ผู้เรียนกำลังศึกษาโดยการจัดให้มีโปรแกรมอบรมพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขาของพระพุทธศาสนาเพื่อลดพฤติกรรมความรุนแรงของผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ
                ๒. ครูอาจารย์ในวิทยาลัยควรมีส่วนร่วมในการลดพฤติกรรมความรุนแรงของผู้เรียนโดยมีการนำโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนทุกรายวิชารวมถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในวิทยาลัย
                ข้อเสนอในการศึกษาครั้งต่อไป
๑.   ควรศึกษาติดตามความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือน หรือ มากกว่านั้น
๒. ควรมีการนำรูปแบบ (Model)  การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง
. เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ.  คู่มือการพัฒนาโรงเรียนเข้าสู่มาตรฐานการศึกษา  การควบคุมตนเองและการ  ปรับตัว,  กรุงเทพฯ  สำนักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๓๙.
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม, วัยเด็กและวัยรุ่นในยุคไทยาภิวัตน์ : ปัญหา  ทางเลือก  ทางออก, เอกสารประกอบการประชุมคณะรัฐมนตรี  เรื่องความเห็นชอบ โครงการเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในชาติ, ๒๕๔๙.
คมเพชร  ฉัตรศุภกุล. กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.๒๕๔๖.
ชไมพร  ทวิชศรี, รังสรรค์  วรวงศ์  และ  ชยันตร์ธร  ปทุมานนท์.  ๒๕๔๒. ลักษณะทางสังคมที่นำไปสู่ความรุนแรงและการกระทำผิดในวัยรุ่นและเยาวชน.”  วารสารสุขภาพจิตแห่ง ประเทศไทย.  ๗ (กุมภาพันธ์ พฤษภาคม  ๒๕๔๒),๒๕๔๒.
นิภาพร  ลครวงศ์. ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม การฝึกสมาธิ และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ร่วมกับการฝึกสมาธิต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์ ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒.
พรเพ็ญ  เพชรสุขศิริ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความรุนแรงในครอบครัวและความก้าวร้าวของเยาวชนไทย.  รายงานการวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, (อัดสำเนา).๒๕๓๙.
สมทรัพย์  สุขอนันต์,วัยใส วัยเสี่ยง วัยวุ่น วัยแห่งความเสี่ยง, เอกสารในการอบรม เรื่องแนวทางด้านจิตวิทยาชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาวัยรุ่น : การให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อป้องกันปัญหาวัยรุ่น เสนอที่มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๔ กรกฎาคม  ๒๕๔๖ . (อัดสำเนา).
สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด, สถานการณ์การแพร่ระบาดยาเสพติดในกลุ่มวัยเด็กและวัยรุ่น , จาก
เวบไซต์htt://www.oncb.go.th/document/situation.htm, ๒๕๔๔,สืบค้นเมื่อ ๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔.
สุรพงษ์  ชูเดช. ผลของการฝึกอบรมตามแนวทางไตรสิกขาที่มีต่อการพัฒนาวินัยในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.๒๕๔๒.

Conoley. Jane Close. (๑๙๗๗, Februry). “The Effects of Interdependent Learning Tasks and Role play on Sociometric