วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ตัวอย่างปกรายงาน(2)


ตัวอย่างปกรายงาน
                                                                               

                                                                                        โลโก้วิทยาลัย  
 
                                      เรื่อง วิธีการเขียนรายงาน  
        
                                                         จัดทำโดย

   1.ชื่อ  นายเด็กดี     นามสกุล   ขยันเรียนจริง  รหัสนักศึกษา 61000009
   2.ชื่อ......................นามสกุล............................รหัสนักศึกษา...................
  3.ชื่อ.......................นามสกุล............................รหัสนักศึกษา...................

เสนอ
                                       อาจารย์ ..................................................


วิทยาลัย ...........................................
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา........................รหัสวิชา..................
    คณะ............................................สาขา.......................................................
    ภาคเรียนที่ ..................................ปีการศึกษา............................................



วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สอนภาษาไทยขั้นพื้นฐาน-ฟัง-พูด-อ่าน-เขียน แก่ชาวต่างชาติฟรี

สอนภาษาไทยพื้นฐาน ฟัง พูด อ่าน เขียน แก่ชาวต่างชาติ


1. เปิดสอนภาษาไทยพื้นฐาน ฟัง-พูด-อ่าน และเขียน  (สอนฟรีสำหรับชาวต่างชาติ)
2. เปิดสอนภาษาไทยขั้นกลางฟัง-พูด-อ่าน และเขียน    สำหรับชาวต่างชาติ (ราคาและวันเวลาตามที่ตกลงครับ)
3.  เปิดสอนภาษาไทยขั้นสูง   ฟัง-พูด-อ่าน และเขียน    สำหรับชาวต่างชาติ
(ราคาและวันเวลาตามที่ตกลงครับ)

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เปิดสอนภาษาไทยพื้นฐาน ฟัง พูด อ่าน เขียน แก่ชาวต่างชาติ


1. เปิดสอนภาษาไทยพื้นฐาน ฟัง-พูด-อ่าน และเขียน  เป็นการสอนฟรี
     สำหรับชาวต่างชาติ
2. เปิดสอนภาษาไทยขั้นกลางฟัง-พูด-อ่าน และเขียน    สำหรับชาวต่างชาติ
3.  เปิดสอนภาษาไทยขั้นสูง   ฟัง-พูด-อ่าน และเขียน    สำหรับชาวต่างชาติ

พยัญชนะ 

พยัญชนะไทยมี 44 รูป แต่ละตัวมีชื่อเรียกโดยเฉพาะ สามารถแบ่งตามฐานที่ใช้ในการออกเสียงเป็นวรรค เสียงอ่านที่กำกับไว้คือเสียงเมื่อเป็นพยัญชนะต้น
วรรคฐานกรณ์กักสิถิลกักธนิตหรือเสียดแทรกนาสิก
วรรค กะเพดานอ่อน ไก่
[k]
 ไข่
[kʰ]
 ขวด¹
[kʰ]
 ควาย
[kʰ]
 คน¹
[kʰ]
 ระฆัง
[kʰ]
 งู
[ŋ]
วรรค จะเพดานแข็ง จาน
[t͡ɕ]
 ฉิ่ง
[t͡ɕʰ]
 ช้าง
[t͡ɕʰ]
 โซ่
[s]
 เฌอ
[t͡ɕʰ]
 หญิง
[j]
วรรค ฏะปุ่มเหงือก ชฎา
[d]
 ปฏัก
[t]
 ฐาน
[tʰ]
 มณโฑ
[tʰ]/[d]
 ผู้เฒ่า
[tʰ]
 เณร
[n]
วรรค ตะ เด็ก
[d]
 เต่า
[t]
 ถุง
[tʰ]
 ทหาร
[tʰ]
 ธง
[tʰ]
 หนู
[n]
วรรค ปะริมฝีปาก ใบไม้
[b]
 ปลา
[p]
 ผึ้ง
[pʰ]
 ฝา
[f]
 พาน
[pʰ]
 ฟัน
[f]
 สำเภา
[pʰ]
 ม้า
[m]
ไตรยางศ์กลางสูงต่ำ
วรรคเปิดหรือรัวเสียดแทรกเปิดข้างลิ้น
ปุ่มเหงือก
กัก
เส้นเสียง
เสียดแทรก
เส้นเสียง
เศษวรรค ยักษ์
[j]
 เรือ
[r]
 ลิง
[l]
 แหวน
[w]
 ศาลา
[s]
 ฤๅษี
[s]
 เสือ
[s]
 หีบ
[h]
 จุฬา
[l]
 อ่าง²
[ʔ]
 นกฮูก
[h]
ไตรยางศ์ต่ำสูงต่ำกลางต่ำ
  1. ฃ และ ฅ เป็นอักษรที่ในปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
  2. อ ถือว่าเป็นเสียงว่างให้รูปสระมาเกาะได้
พยัญชนะไทยยังแบ่งออกเป็น 3 หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ประกอบด้วย

สระ[แก้]

สระในภาษาไทยมี 21 รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง (ดูที่ ภาษาไทย)

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป 5 เสียง
เสียงวรรณยุกต์ไทยตามหลักภาษาศาสตร์ แบ่งได้ดังนี้
  • เสียงสามัญ (ระดับเสียงกึ่งสูง-กลาง)
  • เสียงเอก (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ)
  • เสียงโท (ระดับเสียงสูง-ต่ำ)
  • เสียงตรี (ระดับเสียงกึ่งสูง-สูง)
  • เสียงจัตวา (ระดับเสียงกึ่งต่ำ-ต่ำ-กึ่งสูง)

รูปวรรณยุกต์

เครื่องหมายวรรณยุกต์ในภาษาไทย มี 4 รูป ดังนี้
ไม้เอก (-่) ไม้โท (-้) ไม้ตรี (-๊) และ ไม้จัตวา (-๋)
อย่างไรก็ตาม ในจารึกสมัยโบราณ เช่น ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มีเครื่องหมายวรรณยุกต์เพียง 2 รูป คือ ไม้เอก (-่) และไม้โท (-๋)[ต้องการอ้างอิง] เช่น น๋อง (น้อง), ห๋า (ห้า)

การผันเสียงวรรณยุกต์

โดยทั่วไปเสียงพยางค์หนึ่งในภาษาไทย สามารถผันได้ ๕ เสียงวรรณยุกต์ แต่ในภาษาเขียน จะมีกฎเกณฑ์การผันที่ตายตัว ดังนี้
หมู่อักษร-คำเป็นคำตายเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
อักษรกลาง คำเป็นกาก่าก้าก๊าก๋า
อักษรกลาง คำตาย สระสั้น-กะก้ะก๊ะก๋ะ
อักษรกลาง คำตาย สระยาว-กาบก้าบก๊าบก๋าบ
อักษรสูง คำเป็น-ข่าข้า-ขา
อักษรสูง คำตาย สระสั้น-ขะข้ะ--
อักษรสูง คำตาย สระยาว-ขาบข้าบ--
อักษรต่ำ คำเป็นคา-ค่าค้า-
อักษรต่ำ คำตาย สระสั้น--ค่ะคะค๋ะ
อักษรต่ำ คำตาย สระยาว--คาบค้าบค๋าบ
คำตายของอักษรกลางและอักษรสูง ไม่ว่าสระจะเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ผันวรรณยุกต์ตามรูปแบบเดียวกัน เว้นแต่คำตายของอักษรต่ำ เมื่อเป็นสระเสียงสั้นหรือเสียงยาวจะผันคนละแบบ
อักษรต่ำและอักษรสูงไม่สามารถผันให้ครบ ๕ เสียงได้ จึงมักจะใช้อักษรเสียงเดียวกันจากอีกหมู่หนึ่งมาใช้เป็นอักษรนำ โดยมีอักษรสูงนำ (ยกเว้นอักษร อ ซึ่งเป็นอักษรกลาง สามารถนำ อักษร ย ได้) เช่น นา หน่า น่า น้า หนา, มี หมี่ มี่ มี้ หมี

ตัวเลข

ดูบทความหลักที่: เลขไทย
ตัวเลขที่เป็นอักษรไทย เรียกว่าเลขไทย มีลักษณะดังนี้
๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
วิธีการบอกจำนวนใช้ระบบประจำหลักเหมือนกับตระกูลเลขฮินดู-อารบิกอื่น ๆ

เครื่องหมายวรรคตอน

รหัสยูนิโคดสำหรับอักษรไทย

ช่วงรหัสยูนิโคด (Unicode) ของอักษรไทย คือ U+0E00 ถึง U+0E7F
ไทย
Unicode.org chart (PDF)
 0123456789ABCDEF
U+0E0x 
U+0E1x
U+0E2x
U+0E3x    ฿
U+0E4x
U+0E5x    
U+0E6x                
U+0E7x               

พยัญชนะต้น

ภาษาไทยแบ่งแยกรูปแบบเสียงพยัญชนะก้องและพ่นลม ในส่วนของเสียงกักและเสียงผสมเสียงแทรก เป็นสามประเภทดังนี้
  • เสียงไม่ก้อง ไม่พ่นลม
  • เสียงไม่ก้อง พ่นลม
  • เสียงก้อง ไม่พ่นลม
หากเทียบกับภาษาอังกฤษ โดยทั่วไปมีเสียงแบบที่สองกับสามเท่านั้น เสียงแบบที่หนึ่งพบได้เฉพาะเมื่ออยู่หลัง เอส (S) ซึ่งเป็นเสียงแปรของเสียงที่สอง
เสียงพยัญชนะต้นโดยรวมแบ่งเป็น 21 เสียง ตารางด้านล่างนี้บรรทัดบนคือสัทอักษรสากล บรรทัดล่างคืออักษรไทยในตำแหน่งพยัญชนะต้น (อักษรหลายตัวที่ปรากฏในช่องให้เสียงเดียวกัน) อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากทั้งสองปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก[m]
m
[n]
ณ,น
n
[ŋ]
ng
เสียงกักก้อง[b]
b
[d]
ฎ,ด
d
ไม่ก้อง ไม่มีลม[p]
p
[t]
ฏ,ต
t
[tɕ]
ch
[k]
k
[ʔ]
ไม่ก้อง มีลม[pʰ]
ผ,พ,ภ
ph
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ
th
[tɕʰ]
ฉ,ช,ฌ
ch
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ*kh
เสียงเสียดแทรก[f]
ฝ,ฟ
f
[s]
ซ,ศ,ษ,ส
s
[h]
ห,ฮ
h
เสียงเปิด[w]
w
[l]
ล,ฬ
l
[j]
ญ,ย
y
เสียงรัวลิ้น[r]
r
 และ  เลิกใช้แล้ว ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าภาษาไทยสมัยใหม่มีพยัญชนะเพียง 42 ตัวอักษร

พยัญชนะสะกด

ถึงแม้ว่าพยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงในกรณีของพยัญชนะต้น แต่ในกรณีพยัญชนะสะกดแตกต่างออกไป สำหรับเสียงสะกดมีเพียง 8 เสียง และรวมทั้งไม่มีเสียงด้วย เรียกว่า มาตรา เสียงพยัญชนะก้องเมื่ออยู่ในตำแหน่งตัวสะกด ความก้องจะหายไป
ในบรรดาพยัญชนะไทย นอกจาก  และ  ที่เลิกใช้แล้ว ยังมีพยัญชนะอีก 6 ตัวที่ใช้เป็นตัวสะกดไม่ได้คือ       ดังนั้นตัวสะกดจึงเหลือเพียง 36 ตัวตามตารางอักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ริมฝีปาก
ทั้งสอง
ริมฝีปากล่าง
-ฟันบน
ปุ่มเหงือกเพดานแข็งเพดานอ่อนเส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
m
  [n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
n
  [ŋ]
ง ng
 
เสียงกัก[p̚]
บ, ป, พ, ฟ, ภ
p
  [t̚]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส
t
  [k̚]
ก, ข, ค, ฆ k
 [ʔ]
* -
เสียงเปิด [w]
o (w)
  [j]
i (y)
 
* เสียงพยัญชนะกัก เส้นเสียง จะปรากฏเฉพาะหลังสระเสียงสั้นเมื่อไม่มีพยัญชนะสะกด

กลุ่มพยัญชนะ

แต่ละพยางค์ในคำหนึ่ง ๆ ของภาษาไทยแยกออกจากกันอย่างชัดเจน (ไม่เหมือนภาษาอังกฤษที่พยัญชนะสะกดอาจกลายเป็นพยัญชนะต้นในพยางค์ถัดไป หรือในทางกลับกัน) ดังนั้นพยัญชนะหลายตัวของพยางค์ที่อยู่ติดกันจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มพยัญชนะเลย
ภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะเพียงไม่กี่กลุ่ม ประมวลคำศัพท์ภาษาไทยดั้งเดิมระบุว่ามีกลุ่มพยัญชนะ (ที่ออกเสียงรวมกันโดยไม่มีสระอะ) เพียง 11 แบบเท่านั้น เรียกว่า พยัญชนะควบกล้ำ หรือ อักษรควบกล้ำ อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
ริมฝีปากปุ่มเหงือกเพดานอ่อน
พยัญชนะเดี่ยว/p/
ป p
/pʰ/
ผ, พ ph
/t/
ต t
/k/
ก k
/kʰ/
ข, ฃ, ค, ฅ kh
เสียงรัว/r/
/pr/
ปร pr
/pʰr/
พร phr
/tr/
ตร tr
/kr/
กร kr
/kʰr/
ขร, ฃร, คร khr
เสียงเปิด/l/
/pl/
ปล pl
/pʰl/
ผล, พล phl
/kl/
กล kl
/kʰl/
ขล, คล khl
/w/
/kw/
กว kw/qu
/kʰw/
ขว, ฃว, คว, ฅว khw
พยัญชนะควบกล้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากคำยืมภาษาต่างประเทศ อาทิ จันทรา จากภาษาสันสกฤต มีเสียง ทร /tʰr/ฟรี จากภาษาอังกฤษ มีเสียง ฟร /fr/ เป็นต้น เราสามารถสังเกตได้ว่า กลุ่มพยัญชนะเหล่านี้ถูกใช้เป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น ซึ่งมีเสียงพยัญชนะตัวที่สองเป็น ร ล หรือ ว และกลุ่มพยัญชนะจะมีเสียงไม่เกินสองเสียงในคราวเดียว การผันวรรณยุกต์ของคำขึ้นอยู่กับไตรยางศ์ของพยัญชนะตัวแรก

สระเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ สระเดี่ยว สระประสม และสระเกิน สะกดด้วยรูปสระพื้นฐานหนึ่งตัวหรือหลายตัวร่วมกัน (ดูที่ อักษรไทย)

สระเดี่ยว หรือ สระแท้ คือสระที่เกิดจากฐานเพียงฐานเดียว มีทั้งสิ้น 18 เสียง อักษรโรมันที่กำกับเป็นระบบถอดอักษรของราชบัณฑิตยสถาน
 ลิ้นส่วนหน้าลิ้นส่วนหลัง
ปากเหยียดปากเหยียดปากห่อ
สั้นยาวสั้นยาวสั้นยาว
ลิ้นยกสูง/i/
–ิ i
/iː/
–ี i
/ɯ/
–ึ ue
/ɯː/
–ื ue
/u/
–ุ u
/uː/
–ู u
ลิ้นกึ่งสูง/e/
เ–ะ e
/eː/
เ– e
/ɤ/
เ–อะ oe
/ɤː/
เ–อ oe
/o/
โ–ะ o
/oː/
โ– o
ลิ้นกึ่งต่ำ/ɛ/
แ–ะ ae
/ɛː/
แ– ae
  /ɔ/
เ–าะ o
/ɔː/
–อ o
ลิ้นลดต่ำ  /a/
–ะ a
/aː/
–า a
  
สระเดี่ยว
สระเดี่ยว
สระประสม
สระประสม
สระประสม คือสระที่เกิดจากสระเดี่ยวสองเสียงมาประสมกัน เกิดการเลื่อนของลิ้นในระดับสูงลดลงสู่ระดับต่ำ ดังนั้นจึงสามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "สระเลื่อน" มี 3 เสียงดังนี้
  • เ–ีย /iːa/ ประสมจากสระ อี และ อา ia
  • เ–ือ /ɯːa/ ประสมจากสระ อือ และ อา uea
  • –ัว /uːa/ ประสมจากสระ อู และ อา ua
ในบางตำราจะเพิ่มสระสระประสมเสียงสั้น คือ เ–ียะ เ–ือะ –ัวะ ด้วย แต่ในปัจจุบันสระเหล่านี้ปรากฏเฉพาะคำเลียนเสียงเท่านั้น เช่น เพียะ เปรี๊ยะ ผัวะ เป็นต้น
สระเสียงสั้นสระเสียงยาวสระเกิน
ไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกดไม่มีตัวสะกดมีตัวสะกด
–ะ–ั–1, -รร, -รร-–า–า––ำ(ไม่มี)
–ิ–ิ––ี–ี–ใ–(ไม่มี)
–ึ–ึ––ือ–ื–ไ–(ไม่มี)
–ุ–ุ––ู–ู–เ–า(ไม่มี)
เ–ะเ–็–, เ––2เ–เ––ฤ, –ฤฤ–, –ฤ–
แ–ะแ–็–, แ––2แ–แ––ฤๅ, –ฤๅ(ไม่มี)
โ–ะ––โ–โ––ฦ, –ฦฦ–, –ฦ–
เ–าะ–็อ–, -อ-2–อ–อ–, ––3ฦๅ, –ฦๅ(ไม่มี)
–ัวะ–็ว––ัว–ว–
เ–ียะ(ไม่มี)เ–ียเ–ีย–
เ–ือะ(ไม่มี)เ–ือเ–ือ–
เ–อะเ–ิ–4,
เ––4
เ–อเ–ิ–,
เ––5,
เ–อ–6
สระเกิน คือสระที่มีเสียงของพยัญชนะปนอยู่ มี 8 เสียงดังนี้
  • –ำ /am, aːm/ am ประสมจาก อะ + ม (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาม) เช่น น้ำ
  • ใ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ใจ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ใต้
  • ไ– /aj, aːj/ ai ประสมจาก อะ + ย (อัย) เช่น ไหม้ บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาย) เช่น ไม้
  • เ–า /aw, aːw/ ao ประสมจาก อะ + ว (เอา) เช่น เกา บางครั้งออกเสียงยาวเวลาพูด (อาว) เช่น เก้า
  • ฤ /rɯ/ rue, ri, roe ประสมจาก ร + อึ (รึ) เช่น ฤกษ์ บางครั้งเปลี่ยนเป็น /ri/ (ริ) เช่น กฤษณะ หรือ /rɤː/ (เรอ) เช่นฤกษ์
  • ฤๅ /rɯː/ rue ประสมจาก ร + อือ (รือ)
  • ฦ /lɯ/ lue ประสมจาก ล + อึ (ลึ)
  • ฦๅ /lɯː/ lue ประสมจาก ล + อือ (ลือ)
บางตำราก็ว่าสระเกินเป็นพยางค์ ไม่ถูกจัดว่าเป็นสระ
สระบางรูปเมื่อมีพยัญชนะสะกด จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ สามารถสรุปได้ตามตารางด้านขวา
  1. คำที่สะกดด้วย –ั + ว นั้นไม่มี เพราะซ้ำกับ –ัว แต่เปลี่ยนไปใช้ เ–า แทน
  2. สระ เ-ะ แ-ะ เ-าะ ที่มีวรรณยุกต์ ใช้รูปเดียวกับสระ เ– แ- -อ ตามลำดับ เช่น เผ่น เล่น แล่น แว่น ผ่อน กร่อน
  3. คำที่สะกดด้วย –อ + ร จะลดรูปเป็น –ร ไม่มีตัวออ เช่น พร ศร จร ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ โ–ะ ดังนั้นคำที่สะกดด้วย โ–ะ + ร จึงไม่มี
  4. สระ เ–อะ ที่มีตัวสะกดใช้รูปเดียวกับสระ เ–อ[4] เช่น เงิน เปิ่น เห่ย
  5. คำที่สะกดด้วย เ–อ + ย จะลดรูปเป็น เ–ย ไม่มีพินทุ์อิ เช่น เคย เนย เลย ซึ่งก็จะไปซ้ำกับสระ เ– อย่างไรก็ตาม คำที่สะกดด้วย เ– + ย จะไม่มีในภาษาไทย
  6. พบได้น้อยคำ เช่น เทอญ เทอม

วรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์

คำเป็น
เสียงวรรณยุกต์ ในภาษาไทย (เสียงดนตรีหรือเสียงผัน) จำแนกออกได้เป็น 5 เสียง ได้แก่
เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่าง
เสียงระดับเสียงอักษรไทยสัทอักษรสากล
หน่วยเสียงเสียง
สามัญกลางนา/nāː/[naː˧]
เอกกึ่งต่ำ-ต่ำ หรือ ต่ำอย่างเดียวหน่า/nàː/[naː˨˩] หรือ [naː˩]
โทสูง-ต่ำน่า/หน้า/nâː/[naː˥˩]
ตรีกึ่งสูง-สูง หรือ สูงอย่างเดียวน้า/náː/[naː˦˥] หรือ [naː˥]
จัตวาต่ำ-กึ่งสูงหนา/nǎː/[naː˩˩˦] หรือ [naː˩˦]
คำตาย
เสียงวรรณยุกต์ในคำตายสามารถมีได้แค่เพียง 3 เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงเอก เสียงโท และ เสียงตรี โดยขึ้นอยู่กับความสั้นความยาวของสระ เสียงเอกสามารถออกเสียงควบคู่กับได้สระสั้นหรือยาว เสียงตรีสามารถออกเสียงควบคู่กับสระสั้น และ เสียงโทสามารถออกเสียงควบคู่กับสระยาว อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียง
เอกสั้นหมัก/màk/[mak̚˨˩]
ยาวหมาก/màːk/[maːk̚˨˩]
ตรีสั้นมัก/mák/[mak̚˦˥]
โทยาวมาก/mâːk/[maːk̚˥˩]
แต่อย่างใดก็ดี ในคำยืมบางคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ คำตายสามารถมีเสียงตรีควบคู่กับสระยาว และเสียงโทควบคู่กับสระสั้นได้ด้วย อาทิ
เสียงสระตัวอย่าง
อักษรไทยหน่วยเสียงเสียงอังกฤษ
ตรียาวมาร์ก/máːk/[maːk̚˦˥]Marc, Mark
สตาร์ต/sa.táːt/[sa.taːt̚˦˥]start
บาส (เกตบอล)/báːt (.kêt.bɔ̄n) /[baːt̚˦˥ (.ket̚˥˩.bɔn˧)]basketball
โทสั้นเมคอัพ/méːk.ʔâp/[meːk̚˦˥.ʔap̚˥˩]make-up

รูปวรรณยุกต์

ส่วน รูปวรรณยุกต์ มี 4 รูป ได้แก่
รูปวรรณยุกต์ชื่อ
ไทยสัทอักษร
-่ไม้เอก/máːj.ʔèːk/
-้ไม้โท/máːj.tʰōː/
-๊ไม้ตรี/máːj.trīː/
-๋ไม้จัตวา/máːj.t͡ɕàt.ta.wāː/

การเขียนเสียงวรรณยุกต์

ทั้งนี้คำที่มีรูปวรรณยุกต์เดียวกัน ไม่จำเป็นต้องมีระดับเสียงวรรณยุกต์เดียวกัน ขึ้นอยู่กับระดับเสียงของอักษรนำด้วย เช่น ข้า (ไม้โท) ออกเสียงโทเหมือน ค่า (ไม้เอก) เป็นต้น
รูปวรรณยุกต์
ไม่เขียน-่-้-๊-๋
อักษรสูงเสียงจัตวาเสียงเอกเสียงโท--
ตัวอย่างขาข่าข้า--
กลางเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทเสียงตรีเสียงจัตวา
ตัวอย่างปาป่าป้าป๊าป๋า
ต่ำเสียงสามัญเสียงโทเสียงตรี--
ตัวอย่างคาค่าค้า--

ไวยากรณ์

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไม่ว่าจะอยู่ในกาล (tense) การก (case) มาลา (mood) หรือวาจก (voice) ใดก็ตาม คำในภาษาไทยไม่มีลิงก์ (gender) ไม่มีพจน์ (number) ไม่มีวิภัตติปัจจัย แม้คำที่รับมาจากภาษาผันคำ (ภาษาที่มีวิภัตติปัจจัย) เป็นต้นว่าภาษาบาลีสันสกฤต เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป คำในภาษาไทยหลายคำไม่สามารถกำหนดหน้าที่ของคำตายตัวลงไปได้ ต้องอาศัยบริบทเข้าช่วยในการพิจารณา เมื่อต้องการจะผูกประโยค ก็นำเอาคำแต่ละคำมาเรียงติดต่อกันเข้า ภาษาไทยมีโครงสร้างแตกกิ่งไปทางขวา คำคุณศัพท์จะวางไว้หลังคำนาม ลักษณะทางวากยสัมพันธ์โดยรวมแล้วจะเป็นแบบ 'ประธาน-กริยา-กรรม'

วากยสัมพันธ์

ลักษณะทางวากยสัมพันธ์หรือการเรียงลำดับคำในประโยคโดยรวมแล้วจะเรียงเป็น 'ประธาน-กริยา-กรรม' (subject-verb-object หรือ SVO) อย่างใดก็ดี ในบางกรณีเช่นในกรณีที่มีการเน้นความหมายของกรรม (topicalization) สามารถเรียงประโยคเป็น กรรม-ประธาน-กริยา ได้ด้วย แต่ต้องใช้คำชี้เฉพาะเติมหลังคำกรรมคำนั้น อาทิ
กรณีลำดับคำตัวอย่าง
ธรรมดา
(unmarked)
ประธาน-กริยา-กรรมวัวกินหญ้าแล้ว
เน้นกรรม
(object topicalization)
กรรม-ประธาน-กริยาหญ้านี้ วัวกินแล้ว
หรือ
หญ้าเนียะ วัวกินแล้ว

สำเนียงย่อย

สำเนียงถิ่นในภาษาไทย สามารถแบ่งได้ดังนี้
กลุ่มภาษาถิ่นพื้นที่ที่ใช้เป็นภาษาหลัก
ภาษาไทยที่ราบภาคกลางสามารถจำแนกได้อีกเป็นภาคกลางตะวันออกคือ: จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดนครนายกจังหวัดนครสวรรค์จังหวัดลพบุรีจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครจังหวัดสระบุรีจังหวัดสระแก้วจังหวัดจันทบุรีจังหวัดปราจีนบุรี, พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดตราด, พื้นที่เกือบทั้งหมดในจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร (ฝั่งธนบุรีและฝั่งมีนบุรี)
สามารถจำแนกได้อีกเป็นภาคกลางตะวันตกคือ: จังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดอ่างทองจังหวัดชัยนาทจังหวัดนครปฐมจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดอุทัยธานี, พื้นที่ส่วนใหญ่ในจังหวัดกาญจนบุรีอำเภออุ้มผางจังหวัดระยอง และ อำเภอสัตหีบ
ภาษาไทยเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร (ฝั่งพระนครริมแม่น้ำเจ้าพระยา), จังหวัดนนทบุรี (บางส่วนของอำเภอเมืองและอำเภอปากเกร็ด), บางส่วนในอำเภอเมืองปทุมธานีอำเภอบางปะกงจังหวัดชลบุรี (ยกเว้นอำเภอสัตหีบ), อำเภอหาดใหญ่, บางส่วนในอำเภอบ้านดอน, บางส่วนในอำเภอนางรอง และตามชุมชนเมืองต่างๆ
ภาษาไทยสุโขทัยจังหวัดสุโขทัยจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชร และบางส่วนของจังหวัดอุตรดิตถ์
ภาษาไทยตะวันตกเฉียงใต้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ยกเว้นอำเภอทับสะแกอำเภอบางสะพานและอำเภอบางสะพานน้อย), จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรี
ภาษาไทยโคราช*จังหวัดนครราชสีมา (ยกเว้น อำเภอปักธงชัยอำเภอสูงเนิน และ อำเภอบัวใหญ่), บางส่วนของจังหวัดชัยภูมิ, บางส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์
  • หมายเหตุ บางครั้งภาษาไทยถิ่นนี้อาจถูกจำแนกเป็นอีกภาษา

การยืมคำจากภาษาอื่น

ภาษาไทยเป็นภาษาหนึ่งที่มีการยืมคำมาจากภาษาอื่น ๆ ค่อนข้างสูงมาก มีทั้งแบบยืมมาจากภาษาในตระกูลภาษาไท-กะได ด้วยกันเอง และข้ามตระกูลภาษา โดยส่วนมากจะยืมมาจากภาษาบาลีภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ซึ่งมีทั้งรักษาคำเดิม ออกเสียงใหม่ สะกดใหม่ หรือเปลี่ยนความหมายใหม่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
บางครั้งเป็นการยืมมาซ้อนคำ เกิดเป็นคำซ้อน คือ คำย่อยในคำหลัก มีความหมายเดียวกันทั้งสอง เช่น
  • ดั้งจมูก โดยมีคำว่าดั้ง เป็นคำในภาษาไท ส่วนจมูก เป็นคำในภาษาเขมร
  • อิทธิฤทธิ์ มาจาก อิทธิ (iddhi) ในภาษาบาลี ซ้อนกับคำว่า ฤทธิ (ṛddhi) ในภาษาสันสกฤต โดยทั้งสองคำมีความหมายเดียวกัน
คำจำนวนมากในภาษาไทย ไม่ใช้คำในกลุ่มภาษาไท แต่เป็นคำที่ยืมมาจากกลุ่มภาษาสันสกฤต-ปรากฤต โดยมีตัวอย่างดังนี้
รักษารูปเดิม หรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
  • วชิระ (บาลี: วชิระ [vajira]), วัชระ (สันส: วัชร [vajra])
  • ศัพท์ (สันส: ศัพทะ [śabda]), สัท (เช่น สัทอักษร) (บาลี: สัททะ [sadda])
  • อัคนี และ อัคคี (สันส: อัคนิ [agni] บาลี: อัคคิ [aggi])
  • โลก (โลก) – บาลี-สันส: โลกะ [loka]
  • ญาติ (ยาด) – บาลี: ญาติ (ยา-ติ) [ñāti]
เสียง พ มักแผลงมาจาก ว
  • เพียร (มาจาก พิริยะ และมาจาก วิริยะ อีกทีหนึ่ง) (สันส:วีรยะ [vīrya], บาลี:วิริยะ [viriya])
  • พฤกษา (สันส:วฤกษะ [vṛkṣa])
  • พัสดุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ) )
เสียง -อระ เปลี่ยนมาจาก -ะระ
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
เสียง ด มักแผลงมาจาก ต
  • หรดี (หอ-ระ-ดี) (บาลี:หรติ [harati] (หะระติ))
  • เทวดา (บาลี:เทวะตา [devatā])
  • วัสดุ และ วัตถุ (สันส: [vastu] (วัสตุ); บาลี: [vatthu] (วัตถุ))
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
เสียง บ มักแผลงมาจาก ป
  • กบิลพัสดุ์ (กะ-บิน-ละ-พัด) (สันส: [kapilavastu] (กปิลวัสตุ); บาลี: [kapilavatthu] (กปิลวัตถุ))
  • บุพเพ และ บูรพ (บาลี: [pubba] (ปุพพ))

ภาษาอังกฤษ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีวิวัฒนาการต่าง ๆ ทางเทคโนโลยีมากมาย ซึ่งทำให้มีการใช้ภาษาอังกฤษกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ก็ได้มีการบัญญัติศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย เช่น[5]
  • ประปา จากคำว่า วอเตอสับไปล (water supply)
  • สถานี จากคำว่า สเตชัน (station)
  • รถยนต์ จากคำว่า รถมอเตอร์คาร์ (motorcar)
  • เรือยนต์ จากคำว่า เรือมอเตอร์ (motorboat)
  • ประมวล จากคำว่า โค้ด (code)[6](ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2)