วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Ethics-การศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีมีคุณค่า-stu

                                          การศึกษาเพื่อชีวิตที่ดีมีคุณค่า
ลักษณะคนพึ่งตนเองได้มาก                                    ลักษณะคนพึ่งตนเองได้น้อย
1. เปิดรับความเปลี่ยนแปลงOpen to change      1. ปิดตัวเองไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
2. รู้จักวิธีปกป้องสิทธิของตนAssertive             2. ไม่รู้จักวิธีปกป้องสิทธิของตนหรือก้าวร้า
3. บุพกัมมันต์Proactive                                      3. ปฏิกิริยาReactive
4. รู้จักรับผิดชอบSelf-accountable                    4. โทษแต่ผู้อื่นBlames other
5. กำกับดูแลตนได้Self-directed                        5. ต้องให้คนอื่นกำกับดูแลOther - directe
6. ใช้ความรู้สึกละเอียดอ่อนUses feeling           6. ตกเป็นทาสอารมณ์ หรือไม่รู้สึกรู้สมอะไร
7. ผิดเป็นครูLearns from mistakes                   7. ผิดแล้วง่อยDebilitated by mistakes

Ethics-ประโยชน์ของจริยศาสตร์(Ethics Utilization) -stu

ประโยชน์ของจริยศาสตร์(Ethics Utilization)
 ต่อตนเอง  เช่น
             - สอนให้รู้จักเลือกทางเดินที่ดีของชีวิตที่สงบสุข
             - สอนให้รู้จักความพอเหมาะพอดีตามฐานะที่เป็นอยู่
             - สอนให้รู้การเลือกตัดสินใจให้มีความสุขความเจริญก้าวหน้า
             - สอนให้ช่วยยกระดับจิตใจมีความรับผิดชอบสูงขึ้น

Ethics-วิธีการศึกษาจริยศาสตร์ ( Ethics Learning )-stu

วิธีการศึกษาจริยศาสตร์ ( Ethics  Learning )     1.ศึกษาที่มา ตามแนวคิดหรือปรัชญา
    
2. ศึกษาตามหลักสิกขา 3
คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา
    
3. ศึกษาตามจริยธรรมเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ มรรค 8
คือ
      -  สัมมาทิฐิ  เห็นชอบตามแนวอริยสัจ 
4      -  สัมมาสังกัปปะ  ดำริหรือคิดชอบในทางที่ดี
      -  สัมมาวาจา  เจรจาชอบ คือ เว้นจากพูดเท็จ ส่อเสียด  คำหยาบ  เพ้อ
เจ้อ

      -  สัมมากัมมันตะ  ทำการงานชอบ คือ สุจริต ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม
      -  สัมมาอาชีวะ  เลี้ยงชีวิตชอบโดยมีหิริและโอตตัปปะ
      -  สัมมาวายามะ  มีความเพียรพยายามชอบ คือ ไม่ประมาท
                -  สัมมาสติ  ระลึกชอบ คือ มีสติอย่าเผลอ
                      -  สัมมาสมาธิ  ตั้งใจไว้ชอบเพื่อความบริสุทธิ์และบริบูรณ์

Ethics--จริยศาสตร์กับจริยธรรม ( Ethics and Morality )-stu

จริยศาสตร์กับจริยธรรม ( Ethics  and  Morality )
    จริยศาสตร์  เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่ว่าด้วยการครองชีวิต ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหลักแห่งความประพฤติ ศาสตร์แห่งความถูกต้อง ศาสตร์ที่มีจุดมุ่งหมายอยู่ในตัวเอง ช่วยบอกให้รู้คุณค่าแท้คุณคาเทียมของชีวิต    จริยธรรม  เป็นหลักธรรมสำหรับการประพฤติ ปฏิบัติ เพราะธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมให้เป็นมโนธรรมสำนึกและให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ด้วยมีเมตตาธรรมในการดำเนินชีวิต
       สรุปว่า  จริยธรรมเป็นเรื่องส่วนบุคคลหรือองค์กร 
ส่วนจริยศาสตร์เป็นเรื่องส่วนสังคมหรือองค์การณ์

Ethics-ย่อลงในไตรสิกขา -stu

                      ย่อลงในไตรสิกขา

        สัมมาวาจา 
        สัมมากัมมันตะ                     ย่อลงในศีล       
        สัมมาอาชีวะ
       
       สัมมาวายามะ  
       สัมมาสติ                                 ย่อลงในสมาธิ
       สัมมาสมาธิ
      
       สัมมาทิฐิ 
       สัมมาสังกัปปะ                        ย่อลงในปัญญา

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หน่วยที่ 1

ขอบเขตและคุณค่าของการศึกษาจริยศาสตร์ (Ethics  Outline)
            เพื่อต้องการย้ำถึงอุดมคติทางศีลธรรม  การพัฒนาแห่งความประพฤติของ
มนุษย์ที่ควรบำเพ็ญคือความดี  ที่ควรละคือความชั่ว  และที่ควรวางเฉยคือไม่ดีและไม่ชั่ว
           เพื่อการบำเพ็ญความดีที่เป็นคุณค่าแท้  คือความจริงและความสามารถ
           เพื่อคุณค่าแห่งความดีที่เป็นเครื่องอำนวย  หรือความดีที่ส่งเสริมให้สูงยิ่งขึ้นไป
           เพื่อคุณค่าแห่งความดีที่เป็นเนื้อแท้ในตัวเองและความดีเครื่องอำนวย เช่น 
 ความรัก   ความเมตตา   ความอบอุ่น   ความสามัคคี

จริยทางศาสนาพราหมณ์
การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ถูกต้องนั้นควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นความดีในระดับหนึ่งในรูปของพิธีกรรม การทำหน้าที่ของบุคคลต้องถูกต้องเหมาะใช้ชีวิตเป็นเดิมพัน
 จริยทางศาสนาพุทธ
การกระทำสิ่งใด เรื่องใดก็ตาม ถ้าเป็นการมุ่งร้าย อาฆาต ประหาร เบียดเบียนด้วยชีวิตผู้อื่น หรือ ตนเอง ถือว่าเป็นการก่อความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่นและตนเอง จัดว่าเป็นความช่วยร้าย เป็นหายนะ ไม่ควรปฏิบัติ

หน่วยที่ 1

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยศาสตร์( Ethics  Introduction )
     จริยศาสตร์ คือ ศาสตร์แห่งความดีที่เป็นต้นแบบแห่งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของสังคม
      คือ  ศาสตร์ที่ว่าด้วยคุณความดี และศิลปะอย่างยิ่งยวดในการตัดสินใจของมนุษย์
      คือ  ศาสตร์ที่มีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์
      คือ  ศาสตร์ที่กำหนดมาตรฐานทางความประพฤติของมนุษย์ ให้เป็นไปในทางสัมมาชีพ

   1. หลักแหล่ง   ถิ่นที่อยู่อาศัย           
ทฤษฏีทางจริยศาสตร์   (Ethics  Theory)
               หลักพุทธศาสนากล่าวว่า   เจตนาหํ ภิกฺขเว  กมฺมํ วทามิ   เจตนาเป็นตัวชี้กรรมคือการกระทำ  เจตนาเป็นสำคัญในความดี ความชั่ว
              นักเทวนิยมกล่าวว่า  จริยศาสตร์คือความดีมิใช่ความถูกต้องกฏต่าง ๆ มีไว้เพื่อบรรลุถึงความดี
              มูฮิต  กล่าวว่า จริยศาสตร์คือพฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานแห่งการตัดสินใจที่ถูกต้องแน่นอน
              เจมส์  เอช กล่าวว่า จริยศาสตร์คือหลักแห่งความดีความประพฤติว่าอะไรไม่ควรทำเป็นต้น

ชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมมนุษย์ต้องมีกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตอย่างน้อย 3 ประการ

  2. หลักฐาน      หน้าที่การงานใด ๆ อันไม่มีโทษ
 3. หลักธรรม    ดำเนินชีวิตมีระเบียบแบบแผนตามยุคสมัย

จริยศาสตร์ หน่วยที่ 1

                              จริยศาสตร์    หน่วยที่  
      วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม คือ
.    อธิบายโครงสร้าง  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยศาสตร์  ทฤษฏีทางจริยศาสตร์จุดมุ่งหมายขอบเขตและคุณค่าที่สำคัญทางจริยศาสตร์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
.    อธิบายประโยชน์ของจริยศาสตร์   วิธีการเรียนรู้จริยศาสตร์ที่จะบังเกิดผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และนำไปใช้  ในการประกอบอาชีพอย่างถูกต้องได้
.    สร้างความเข้าใจและสามารถแยกแยะประเด่นต่าง ๆ   มาตอบคำถามเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ตามหลัก  สุ-จิ-ปุ-ลิ  ได้อย่างถูกต้อง



Course Syllabus (ประมวลการสอน)


วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ประมวลการสอน (Course  Syllabus)

 ระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง และ 4  ปี





                     รายวิชา (รหัสและชื่อวิชา)    (ภาษาไทย)       901-101   จริยศาสตร์ 
                                                                       (ภาษาอังกฤษ)  901-101    Ethics
                       คณะ                                บริหารธุรกิจ,บัญชี,ศิลปศาสตร์
                      สาขา                                คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ,การตลาด 
                                                               การบัญชี,การโรงแรมและการท่องเทียว,
                           นิเทศศาสตร์สื่อดิจิตอล .    
           
                      ชื่อผู้สอน                          าจารย์ กิจสดายุทต์   สังข์ทอง
                                                                 อาจารย์ ดร.นิเวศน์    วงศ์สุวรรณ 
                                                             



ลักษณะรายวิชา
1.             รหัสรายวิชา             901-101                  
2.             จำนวนหน่วยกิต     จำนวนหน่วยกิต  3  (3-0)
3.             สภาพรายวิชา          วิชาศึกษาทั่วไป    หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4
4.             ระดับรายวิชา           ภาคการศึกษาที่   1/2554   ชั้นปีที่ 1 และ 2 ปีต่อเนื่อง
5.             วิชาบังคับก่อน         -
6.             เวลาการศึกษา          ตลอด  18   สัปดาห์  รวม 54  คาบ  ทฤษฎี  3  คาบต่อสัปดาห์
7.             ห้องเรียน                 ห้อง   9602  เวลา  09.20 – 11.50 น.
                                              ห้อง  9609  เวลา  13.30 – 16.00 น.
      8.    คำอธิบายรายวิชา      (Course  Description)
                                                ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่สำคัญ  แนวความคิดหลักเกณฑ์     
              การนำหลักวิชามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางจริยธรรม ในระดับบุคคล
              ชุมชน กลุ่มชนสังคม และจริยธรรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติ การมีคุณธรรม ธรรมมาภิ-
              บาลและความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
9.วัตถุประสงค์ทั่วไป
1. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของทฤษฎีางจริยศาสตร์
2. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีทักษะความชำนาญแนวความคิด และหลักเกณฑ์ในการพินิจพิเคราะห์
3. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ทางจริยธรรมได้ในระดับบุคคล  ชุมชน และสังคม
4. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถแทรกหลักจริยธรรมในหน้าที่และวิชาชีพต่างๆ  ที่ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
5. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมอย่างต่อเนื่องยิ่ง ๆ ขึ้นไปในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
10.จุดประสงค์เชิงคุณธรรม  (Moral objectives)
                          สามารถนำหลักจริยศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างซื่อสัตย์สุจริต
                      พอเพียง และการแก้ปัญหาวิชาชีพได้





       แผนการเรียน/แผนการสอน
      1. แผนการสอนสำหรับนักศึกษา


สัปดาห์
หน่วยเรียน/บทเรียน/หัวข้อ
กิจกรรมการเรียนการสอน /
งานที่มอบหมายให้นักศึกษา
       1  
    11 มิ.ย.54

      2 , 3

18 มิ.ย.54



   25 มิ.ย.54






       4 ,5

   2 ก.ค.54





  9 ก.ค.54




  


 





     6,7

16 ก.ค.54






23 ก.ค.54










 
     8




    9 -11
6 ส.ค.54




13 ส.ค.54




20ส.ค.54





 

   12 ,13
27 ส.ค.54




   3 ก.ย.54










 
  14 -16
  10 ก.ย.54



 17 ก.ย.54



 24 ก.ย.54






  17


ปฐมนิเทศ


หน่วยที่  1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  จริยศาสตร์
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยศาสตร์
-ทฤษฎีทางจริยศาสตร์
-จุดมุ่งหมายทางจริยศาสตร์
-ขอบเขตและคุณค่าทางจริยศาสตร์
-ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์
-วิธีการศึกษาจริยศาสตร์
-จริยศาสตร์กับจริยธรรม
- สรุปประเด็นสำคัญ
- คำถามท้ายบท

หน่วยที่  2  แนวความคิดหลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์เหตุผลทางจริยศาสตร์
-หลักเกณฑ์ประกอบความดีทั่วไป
-หลักเกณฑ์จริยธรรมขั้นมูลฐาน
-หลักเกณฑ์จริยธรรมขั้นกลาง
-หลักเกณฑ์จริยธรรมขั้นสูง
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับชีววิทยา
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับจิตวิทยา
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับสังคมวิทยา
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับรัฐศาสตร์
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับอภิปรัชญา
-หลักเหตุผลทางจริยศาสตร์กับศาสนวิทยาหรือเทววิทยา
- คำถามท้ายบท



หน่วยที่  3  การแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน และสังคม
-จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาชีวิต
-จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาสังคม
-จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาครอบครัว
-จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการปกครอง
-จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
-จริยธรรมตามบทบาทหรือหน้าที่ความรู้สึกทางศีลธรรม
- การแกปัญหาและการตัดสินทางศีลธรรม
- คำถามท้ายบท

           สอบกลางภาค
 Mid-term  Examination 26 – 30 ก.ค.  2554 (อาจเปลี่ยนแปลง)

หน่วยที่  4  การแทรกและนำหลักจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ทฤษฎีว่าด้วยมาตรฐานตามหลักจริยธรรม
-จริยธรรมและมาตรฐานตามความเจริญของสังคม
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของพ่อ-แม่
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของ บุตร-ธิดา
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของ อุบาสก-อุบาสิกา
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของครู-อาจารย์
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของประชาชน
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนายจ้าง-ลูกจ้าง
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของการครองคู่ชีวิต
-คำถามท้ายบท


หน่วยที่  5  การมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามหลักจริยศาสตร์
- คุณธรรม ความรู้ และนิสัยตามหลักจริยศาสตร์
- คุณธรรมของคนกับคุณค่าของความเป็นคน
- คุณธรรมของคนกับสังคมรอบข้าง
- คุณธรรมของคนกับการเลือกดำเนินชีวิตที่ดี
- คุณธรรมของคนกับการเป็นสมาชิกในสังคม
- คุณธรรมของคนกับวิธีการเลือกทางสงบสุข
- คำถามท้ายบท





 

หน่วยที่ 6  ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
- สิทธิและหน้าที่
- การจำแนกหน้าที่
- หน้าที่ของมนุษย์
-หน้าที่กับคุณธรรม
- ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
-ความรับผิดชอบและความขัดแย้งกันของหน้าที่
- คุณธรรมกับความสุข
- คำถามท้ายบท


สอบปลายภาค  (Final  Examination)
      27 ก.ย. – 1ต.ค. 54

   แนะนำการเรียน การสอน กฎระเบียบต่างๆ


อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     - การบรรยาย
     - การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยให้ ผู้ ได้ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร     
      รวมทั้งแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด
      เช่น
       เราควรแสวงหาอะไรให้กับชีวิต ?
       อะไรเป็นสิ่งดีที่สุดสำหรับมนุษย์
       ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์
-ให้นศ.ช่วยกันสรุปและทบทวนความรู้หน่วยที่1
- ทำแบบฝึกหัดที่  1

อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     - การบรรยาย
     - การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยให้    
       ผู้เรียนได้ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร     
      รวมทั้งแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด
- ให้นักศึกษาวิเคราะห์เหตุผลทางจริยศาสตร์ที่ว่า ... 
    เอาอะไรมาเป็นเกณฑ์ตัดสินว่า ทำอย่างไรถูก  
     อย่างไรผิด ? ตามหลักเกณฑ์และหลักเหตุผล
      ทางจริยธรรม ทำลงในสมุดของตน
-- ทำแบบฝึกหัดที่  2






อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     - การบรรยาย
     - การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดย ให้ผู้เรียนได้ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร  รวมทั้งแสดงความคิดเห็น
- ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ว่าในสถานการณ์ที่
     ยุ่งยากอันหนึ่งเราควรทำอย่างไร ?
-   มอบหมายหัวข้อรายงาน  (ตัวอย่างปัญหาทาง  
    จริยธรรมจากหนังสือพิมพ์ประจำวัน บทความ)มานำเสนอรายงานในชั้นเรียน
- ทำแบบฝึกหัดที่  3
- สรุปบทเรียน
- Test 1= 10 คะแนน


  

สอบ  บทที่ 1 – 3





 
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     - การบรรยาย
     - การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยให้ ผู้เรียนได้ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร  รวมทั้งแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด เช่น  ใครมีบุญคุณต่อนศ.บ้าง ? การเชื่อฟัง พ่อ แม่ ผู้มีประสบการณ์ จะทำให้ชีวิตดีขึ้นหรือแย่ลง ?
- อภิปรายแสดงความคิดเห็นและการตอบคำถาม
   นักศึกษา
- นักศึกษานำหลักจริยธรรมข้อใดไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตบ้าง ?
- ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
- ทำแบบฝึกหัดที่  4




อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
     - การบรรยาย
     - การเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยให้ ผู้เรียนได้ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสารรวมทั้งแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด  เช่น   การมีคุณธรรมจะทำคนให้ เป็นคนดีหรือชั่วได้หรือไม่ ?
- ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
- ให้นักศึกษาค้นคว้า คุณธรรมสำหรับคนดีควรปฏิบัติตนอย่างไรตามหลักจริยศาสตร์
-สรุปประเด็นสำคัญ
- ทำแบบฝึกหัดที่  5



 
อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
 - การบรรยาย
- ให้ตัวแทนนักศึกษา Present  หน้าห้อง ว่า
    สามารถรับผิดชอบ ตนเองได้ไม่
   และสามารถอยู่บนโลกใบนี้คนเดียวได้หรือไม่ ?
- แสดงความคิดเห็น
- ให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
-ระดมสมองสรุปประเด็นสำคัญ
- ทำแบบฝึกหัดที่  6
- สรุปบทเรียน



      สอบบทที่ 4 – 6


เงื่อนไขรายวิชา (ถ้ามี) เช่น การแต่งกาย เวลาในการขาดเรียน
    1. นักศึกษาจะต้องมีความตรงต่อเวลา และห้ามเข้าชั้นเรียนสายเกิน  15 นาที เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
    (จะต้องมีร่องรอยหลักฐานมาแสดง) หากเข้าชั้นเรียนสายเกิน 15  นาที่ ถือว่าขาดเรียนในคาบนั้นๆ
   2. ถ้านักศึกษา ขาดเรียนเกินกำหนด (3 ครั้ง) โดยไม่มีเหตุจำเป็น และไม่มีใบรับรองแพทย์หรือ 
       ผู้ปกครอง ให้เป็นไปตามเงื่อนไขการประเมินผล
การประเมินผลรายวิชา
   1.   การประเมินรายวิชา คะแนนภาควิชาการ  ร้อยละ                        100                                                                                        -   การทดสอบย่อย                             10
                                  -   ผลงานมอบหมาย                           10
                                  -   การสอบกลางภาค                          30
                                  -    การสอบปลายภาค                           30
                                      -   รายงาน                                            10
                                    -   จิตพิสัย  ร้อยละ                               10
 2.  เกณฑ์ค่าระดับคะแนน  กำหนดค่าระดับคะแนนร้อยละตามเกณฑ์  ดังนี้
                                             คะแนนร้อยละ   80  ขึ้นไป   ได้   เกรด         A
                           คะแนนร้อยละ  75 – 79     ได้   เกรด          B+
                           คะแนนร้อยละ  70 – 74      ได้   เกรด          B
                                             คะแนนร้อยละ   65 – 69       ได้   เกรด        C+
                                             คะแนนร้อยละ   60 – 64       ได้   เกรด        C
                           คะแนนร้อยละ   55 – 59    ได้   เกรด         D+
                                             คะแนนร้อยละ   50 – 54    ได้  เกรด           D
                                              คะแนนร้อยละ     0 - 49    ได้  เกรด            F

รายชื่อหนังสือประกอบการเรียนการสอน
                1.  พระธรรมปิฎก  ธรรมนูญชีวิต  กรุงเทพมหานคร  โรงพิมพ์สหธรรมมิก จำกัด  2547
                2.  พระธรรมกิตติวงศ์  ธรรมสารทีปนี    โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง  2544
                3.  บุญมี  แท่นแก้ว  ผศ. จริยศาสตร์  กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์โอเดี้ยนสโตว์  2539
                4.  วศิน  อินทสระ  จริยศาสตร์  กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราษวิทยาลัย 2544
             5.  เจือจันทน์  อัชพรรณ  โอวาทสี่ของท่านเหลียวฝาน  กรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์สวย
                  จำกัด  2542 
             6.  วิทย์  วิศทเวทย์  จริยศาสตร์เบื้องต้น   กรุงเทพมหานคร สำนักพิมพ์โอ
เดี้ยนสโตว์  2539