วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ศาสนาอิสลาม


ศาสนาอิสลาม

ประวัติศาสนาอิสลาม
     ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่มีผู้นิยมนับถือมากที่สุดศาสนาหนึ่ง เป็นศาสนาที่แพร่หลาย ในเอเชียตะวันตก หรือตะวันออกกลาง มีลักษณะ เป็นศาสนาเอกเทวนิยม ซึ่งนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียว  เป็นศาสนา สายเดียวกับศาสนายิว (ยูดาย) และศาสนาคริสต์
     อิสลาม  แปลว่า  การนอบน้อม  สันติ  การยอมจำนนอย่างสิ้นเชิง ดังนั้น ศาสนาอิสลาม จึงหมายถึง การนอบน้อตน ต่อพระอัลเลาะห์ เพียงพระองค์เดียวอย่างสิ้นเชิง  หัวใจของศาสนาอิสลาม ก็คือ การประกาศเปิดเผยความเป็นเอกภาพ  ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับพระอัลเลาะห์ (พระเจ้า) เน้นการมอบตัวต่อพระประสงค์ ของพระอัลเลาะห์ ผู้นับถืออิสลาม  เรียกว่า "มุสลิม"

     ศาสนาอิสลาม ไม่มีพระหรือนักบวช แต่มี "อีหม่าม" ซึ่งทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำ ในการนมัสการพระอัลเลาะห์ ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ในการติดต่อระหว่าง พระเจ้ากับมนุษย์  ศาสนาอิสลามยังมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากศาสนาอื่น คือ นอกจากจะมีการสอนเรื่องจริยธรรมเหมือนกับศาสนาอื่นแล้ว ยังเป็นระบบการเมือง เศรษฐกิจ  และวัฒนธรรมด้วย  เช่น  บทว่าด้วยการลงโทษทางอาญา  การรับมรดก  การหย่า  การพาณิชย์  เป็นต้น
     ศาสนาอิสลามถือว่าศาสดาเป็นมนุษย์ธรรมดา  มิได้เป็นบุตรของพระเจ้า ศาสดาของศาสนาอิสลา คือ ท่านะบีมะหะหมัด หรือ มุฮำหมัด หรือ มูฮำหมัด หรือโมฮำหมัด  ส่วนคำว่า "นะบี" แปลว่า ผู้รับโองการจากพระเจ้า) ท่านศาสดา เกิดที่เมืองเมกกะ  ประเทศอาหรับ (ปัจจุบัน คือ ประเทศซาอุดีอาระเบีย) เกิดวันที่  29  สิงหาคม  พ.ศ.  1113  เป็นบุตรของท่านอับดุลเลาะห์และนางอามีนะฮ์  ท่านกำพร้าบิดามารดามาแต่เยาว์วัย  เมื่ออายุ  25  ปี ได้แต่งงานกับหญิงหม้าย อายุ  40  ปี  จากนั้น ท่านได้รับอาลีบุตรชายของลุงมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
     เมื่อท่านศาสดาอายุได้  40  ปี  ได้เห็นสังคมอาหรับมีแต่ความเสื่อมโทรม ผู้คนมิได้ประพฤติตนอยู่ศีลธรรม  ท่านศาสดา เป็นคนช่างคิด  จึงมักออกไปหาความ วิเวก  ณ ถ้ำฮิรอฮ์  ห่างจากเมืองเมกกะ  3  ไมล์  คืนหนึ่งของเดือนรอมาฎอน เทพญิบรออิล ซึ่งเป็นทูตสวรรค์ ได้ยื่นโองการสวรรค์ให้แก่ท่าน  ท่านจึงคิดว่า ตนเองจิตฟั่นเฟือน  ต่อมาได้รับโองการสวรรค์อีก ท่านจึงได้เริ่มประกาศศาสนา
     ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า "แท้จริงศาสนาแห่งอัลเลาะห์นั้น คือ ศาสนาอิสลาม" แสดงว่า ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้า  ไม่ใช่ศาสนา ที่มนุษย์ตั้งขึ้น  คำสอนในศาสนาอิสลา ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดามูฮำหมัด พระศาสดามูฮำหมัด มิได้เป็นผู้ก่อตั้งศาสนาอิสลามขึ้น  พระองค์ เป็นเพียงผู้รับเอา ศาสนาอิสลาม อันเป็นของพระอัลเลาะห์ มาประกาศเผยแพร่แก่มนุษยชาติเท่านั้น
     ศาสนาอิสลามมีคำสอนว่า  พระอัลเลาะห์ ทรงสร้างโลก และสรรพสิ่งในจักรวาล ทรงสร้างมนุษย์คู่แรกของโลก คือ อาดัมและเฮาวาฮ์ (อาดัมกับอีวา หรืออีฟ ในศาสนายิวและศาสนาคริสต์) พระองค์ได้ตรัสว่า "โออาดัม  เจ้าและภรรยาของเจ้า จงพำนักอยู่ในสวรรค์ และเจ้าทั้งสองจงกินของในนั้นได้อย่างสมบูรณ์ และไม่ต้องหวงห้าม  ตามที่เจ้าทั้งสองต้องการ  แต่จงอย่าเข้าใกล้ต้นไม้นี้ เพื่อเจ้าทั้งสอง จะได้ไม่เป็นพวกทรยศแต่แล้วมารร้าย ก็ได้ใช้อุบายหลอกลวง ให้มนุษย์ทั้งสองฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของพระผู้เป็นเจ้า  พระอัลเลาะห์ จึงทรงขับไล่ อาดัม และเฮาวาฮ์ไม่ให้อยู่ในสวรรค์  ให้ลงมาอยู่  ณ หน้าแผ่นดิน พระผู้เป็นเจ้า ทรงส่งพระศาสนทูต (รอซูล) ลงมาสั่งสอนมนุษย์เป็นครั้งคราว ผู้ที่ได้รับมอบหมาย จากพระอัลเลาะห์ให้มาเป็นพระศาสนทูต  นับแต่อาดัม ซึ่งถือว่าเป็นพระศาสนทูต คนแรก จนถึงพระศาสดามูฮำหมัด ศาสดาคนสุดท้าย มีจำนวนมากด้วยกัน  แต่ที่ระบุชื่ออยู่ในพระคัมภีร์อัลกรุรอานนั้น มี 25 ท่าน ในจำนวนนี้ ที่จัดว่าเป็น พระศาสนทูต  มี  5  ท่าน คือ
1.             นูห์  หรือโนอา
2.             อิบรอฮิม หรืออับราฮัม
3.             มูซา หรือโมเสส (ศาสดาของศาสนายิว)
4.             ฮีซา หรือเยซู (ศาสนดาของศาสนาคริสต์
5.             มูฮำหมัด (ศาสดาของศาสนาอิสลาม)
     ศาสนาอิสลาม ยอมรับคัมภีร์โตราห์หรือคัมภีร์เก่าของยิว ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่พระศาสดามูซา (โมเสส)  และเรียกคัมภีร์โตราห์ว่า "พระคัมภีร์เตารอด" และยอมรับคัมภีร์พระคริสต์ธรรมใหม่  เฉพาะ  4  เล่มแรก ที่เรียกว่าGospel (พระวรสาร) ซึ่งพระผู้เป็นเจ้า ประทานแก่พระศาสดาอีซา (เยซู) และเรียกคัมภีร์ ของคริสต์ว่า "พระคัมภีร์อินญีล" ดังปรากฏ ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน บทที่ 3 : 3 ว่า พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ (อัลกุรอาน) ให้ทยอยลงมายังเจ้าโดยสัจธรรม เป็นสิ่งยืนยันคัมภีร์ ที่มีมาก่อน และพระองค์ได้ประทาน (คัมภีร์) เตารอด และอินญิล ลงมาเพื่อกาลก่อน เป็นสิ่งชี้นำแก่มวลมนุษยชาติ และพระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์ จำแนก (ความจริงออกจากความทุกข์) คือ คัมภีร์อัลกุรอาน


พระคัมภีร์อัลกุรอานของศานาอิสลาม
     ศาสนาอิสลา ถือว่า โมเสสและพระเยซู เป็นผู้ที่พระอัลเลาะห์ ทรงใช้ให้มาก่อน และถือว่าพระศาสดามูฮำหมัด ที่ทรงใช้ให้มาในคราวหลังนี้ เป็นผู้นำพระคัมภีร์ ฉบับสุดท้าย  เป็นพระคัมภีร์ที่ประมวลเอาเนื้อความแห่งพระคัมภีร์ต่าง ๆ  ที่ประทาน แก่ศาสนทูตในอดีตไว้ด้วย  คัมภีร์อัลกุรอาน จึงเป็นพระคัมภีร์ที่สมุบูรณ์ ไม่มีการแก้ไข
     การประกาศศาสนาในนครเมกกะ ช่วงระยะเวลา 3 ปีแรก ต้องทำกันอย่างเร้นลับ และเต็มไปด้วยความยากลำบาก เพราะคนบางกลุ่มเสียผละประโยชน์ และบางคนไม่พอใจท่านศาสดา ที่สอนว่า การบูชารูปเคารพ เป็นสิ่งงมงาย ท่านนะบี จึงถูกปองร้าย ท่านจึงอพยพมาอยู่เมือง ยัทริบ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อเมืองเมดินา) การอพยพครั้งนี้ ตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม  พ.ศ. 1165 (ค.ศ. 622) ถือเป็นการเริ่มต้นของฮิจเราะห์ศักราชอิสลาม (ซึ่งก็คือศักราชของอิสลาม) แม้จะพำนักที่เมืองเมดินา  แต่กองทัพเมืองเมกกะ ก็ยังรุกรานอยู่ ต่อมาท่านนะบี ได้เป็นผู้ปกครองเมืองเมดินา สงครามระหว่างเมืองเมกกะกับเมืองเมดินา ก็เกิดขึ้นหลายครั้ง  จนกระทั่ง  พ.ศ. 1173  ท่านได้ยาตราทัพเข้าเมืองเมกกะ โดยไม่มีการสู้รบ ศาสนาอิสลาม จึงได้สถาปนาขึ้นในเมืองเมกกะ และสถาปนา อาณาจักรของชาวอาหรับขึ้น ท่านนะบี ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 1175  ตรงกับฮิจเราะห์ศักราชที่  11  รวมอายุ  63  ปี  และเผยแพร่ศาสนาอิสลามได้ 23 ปี
     ท่านะบีมูฮำหมัด เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย  ไม่ถือยศศักดิ์  อยู่ง่ายกินง่าย (แม้กระทั่งเสื้อผ้าและรองเท้า จะซ่อมแซมเอง) อดทน มีจิตใจเข้มแข็ง  รักความยุติธรรม มีบุคลิกน่าเลื่อใส  ฯลฯ  จากคุณสมบัติที่ดีเลิศ  จึงทำให้การ เผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นไปอย่างราบรื่น  แม้จะมีอุปสรรคนานัปการ
มุสลิม บอกว่า ไม่ใช่สัญลักษณ์
ความหมาย : น่าจะหมายถึง คืนที่พระศาสดามูฮ้ำหมัด อพยพไปอยู่เมือง ยัทริบหรือเมืองเมดินา แต่ชาวมุสลิม บอกว่า นำมาใช้เพื่อนเป็นเครื่องบอกให้ทราบว่าเป็นมุสลิมหรือเป็นของมุสลิม หรือหมายถึง เดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนถือศีลอด
หมายเหตุ : สัญลักษณ์ ก็แปลว่า  เครื่องหมายเหมือนกัน
หลักคำสอนในศาสนาอิสลาม
     1. หลักศรัทธา  6  ประการ  ซึ่งเรียกว่า อีมาน  แปลว่า ความเชื่อถือ  ได้แก่
  • ศรัทธาในพระผู้เป็นเจ้า พระอัลเลาะห์ (ซุบป์)ต้องศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว ไม่ตั้งสิ่งอื่นใด ขึ้นเป็นภาคี ทำการเคารพสักการะพระเจ้า
  • ศรัทธาในบรรดามลาอิกะห์  ซึ่งเป็นบ่าว ของพระเจ้าประเภทหนึ่ง
  • ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ อัลกุรอาน  ซึ่งศาสนา อิสลาม เชื่อว่า เป็นคัมภีร์ฉบับสุดท้าย  ที่พระผู้เป็นเจ้า ประทานลงมาให้มนุษย์ โดยผ่าน ทางศาสดามูฮำหมัด (ศ็อลฯ)
  • ศรัทะาต่อบรรดาศาสนทูต (รอซูล) ของอัลเลาะห
  • ศรัทธาในวันพิพากษา (เว้นกิยามะห์) ชาวมุสลิม ต้องศรัทธาว่า โลกนี้ (โลกตุนยา) เป็นโลกแห่งการทดลอง เป็นโลกที่ไม่จีรัง จะต้องมีวันแตกสลาย  ซึ่งวันนั้นเรียกว่า วันกิยามะห์ หรือวันแห่งการพิพากษา เป็นวันสุดท้ายของมนุษยชาติ เป็นวันที่มีจริง การใช้ชีวิตของมุสลิมนั้น เขาจะตระหนักอยู่เสมอ ว่า เขาจะต้องฟื้นขึ้นมาใหม่ในวันกิยามะห์ เพื่อจะรายงานการกระทำของเขา ทั้งความดี และความชั่ว  ซึ่งจะเป็นการเตือนมุสลิมว่า การกระทำทุกขณะของเขาในโลกนี้ จะมีผลต่อเขา ทั้งในโลกนี้และโลกหน้าด้วย
     2.  หลักปฏิบัติ  5  ประการ
      หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ภาคปฏิบัติ เรียกว่า  "อิบาดะห์"  แปลว่า  ปฏิบัติการภักดี  มี  5  ประการ คือ
  • ารปฏิญาณตน เป็นหัวใจของมุสลิม โดยการ กล่าวคำปฏิญาณว่า "ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลเลาะห์ และแท้จริง มูฮำหมัด เป็นศาสนทูต (รอซูล) ของอัลเลาะห์
  • การละหมาด คือ การแสดงความเคารพต่อ พระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจ  โดยละหมาดวันละ 5 ครั้ง ครั้งละ ประมาณ 5 - 10 นาที่ คือ เวลาย่ำรุ่ง เรียกว่า ละหมาดซุบป์ เริ่มตั้งแต่อรุณ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้น  เวลากลางวัน เรียกว่า ละหมาดซุห์ร หรือดุฮริ เริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ คล้อย จนถึงเวลาที่เงาของสิ่งของยาวเท่าตัว  เวลาบ่ายเรียกว่า ละหมาดอัชร์ อัศร หรือ อัศริ ตั้งแต่หมดเวลาละหมาดอุฮริ จนถึงเวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า  เวลาาพลบค่ำ เรียกว่า ละหมาดมัฆริบ ตั้งเแต่เวลาดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จนสิ้นแสงตะวันสีแดง  เวลากลางคืน เรียกว่า ละหมาดอิชาอ์ หรืออิชา ตั้งแต่สิ้นเวลาแสงตะวัน สีแดง จนถึงแสงเงินแสงทองขึ้น
  • การบริจาคชะกาด  หมายถึง การจ่ายทาน บังคับจากผู้มีทรัพย์สินครบรอบปี มีเกินจำนวน ที่กำหนดไว้ ให้แก่คนที่มีสิทธิ์รับซะกาด ตามอัตราที่กำหนด เป็นการฝึกความเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่เป็นทาสของวัตถุ
  • การถือศีลอด คือ การงดเว้นจากการบริโภค อาหาร เครื่องดื่ม  การร่วมสังวาส  การรักษาอวัยวะทุกส่วนให้พ้นจากการทำชั่ว ทั้งด้านกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ตั้งแสงอรุณขึ้น จนกระทั่งหมดแสง เพื่อให้มีความ หนักแน่นอดทน ให้ทุกคนรู้รสชาติ ของความหิวโหย เพื่อจะได้เห็นอกเห็นใจคนจน
  • การประกอบพิธีฮัจญ์  ฮัจญ์ แปลว่า การมุ่งไปสู่ หรือการไปเยือน หมายถึง การเดินทางไป ประกอบศาสนกิจ ณ อัลกะบะห์ หรือบัยดุลลอห์ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตามอย่างที่ท่านศาสดามูฮำหมัด ได้กระทำไว้

นิกายในศาสนาอิสลาม
     การแยกนิกายของศาสนาอิสลาม มีลักษณะพิเศษ คือ ไม่ได้เกิดจาก ความขัดแย้งเรื่องคำสอน หรือหลักปฏิบัติในศาสนกิจ แต่เกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง การปกครอง กล่าวคือ ผู้นำของโลก มุสลิม นอกจากจะเป็นผู้นำด้าน ศาสนจักรแล้ว ยังเป็นผู้นำอาณาจักร ในเวลาเดียวกันด้วย เมื่อท่านนะบี มูฮำหมัดถึงแก่กรรม  จึงหาข้อยุติไม่ได้ นำไปสู่การแตกแยก และก่อตั้งลัทธิ ต่าง ๆ  ลัทธิที่สำคัญ มีดังนี้
1.             นิกายซุนนี (Sunni)ยอมรับผู้นำ 4 คนแรก หลังมรณกรรมของท่าน ศาสดาว่า เป็นผู้นำแห่งโลก มุสลิมแท้จริง  คำว่า ซุนนี หรือ สุหนี่  มีรากศัพท์ มาจากภาษาอาหรับว่า ซุนนะห์ แปลว่า จารีต คือ การปฏิบัติตามแนวคำสอน ของท่านศาสดา ยึดคัมภีร์ อัล-กุรอานเป็นสำคัญ นิกายนี้ มีผู้นับถือมากที่สุด ใช้หมวกสีขาวเป็น สัญลักษณ์ ยกย่องกาหลิบ หรืออิหม่าม เป็นผู้สืบทอด ศาสนาจากท่านศาสดา กาหลิบคนแรก คือ อาบูบากร์ ซึ่งเป็นพ่อค้า ของท่านศาสด ผู้ที่มีเชื้อสาย ของอาบูบากร์ คือ กาหลิบ ที่แท้จริง
2.             นิกายชิอะห์ (Shiah) หรือมะงุ่น นิกายนี้ ยอมรับ ท่านอาลี ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม และเป็นบุตรเขยของท่าน นะบีมูฮำหมัด ว่าเป็นผู้นำโลก มุสลิมอย่างแท้จริง มีสัญลักษณ์ คือ หมวกสีแดง พิธีที่สำคัญของนิกายนี้ คือ พิธีเต้นเจ้าเซน ในเดือน โมหรั่ม เพื่อรำลึกถึง วันสิ้นชีพของบุตร ของท่านอาลี
3.             นิกายวาฮะบี (Wahabi) ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้ คือ มุฮัมหมัด  บินอับดุล วาฮับ เกิดขึ้นในช่วง ปี พ.ศ. 2234 - 2299 นิกายนี้ปฏิเสธ ไม่ยอมรับความคิดเห็น ของผู้ใดทั้งสิ้น นอกจาก พระคัมภีร์อัล-กุรอาน และพระวจนะของท่าน ศาสดา  จุดประสงค์ของนิกายนี้ ต้องการให้ศาสนาอิสลาม บริสุทธิ์ เหมือนยุคที่ท่าน ศาสดายังมีชีวิตอยู่ จึงตีความ จากคัมภีร์อัล-กุรอาน ตามตัวอักษรทุกประการ ปฏิเสธคำอธิบาย ของนิกาย ซุนนี ไม่ยอมรับอิหม่าม หรือนักปราชญ์ ของศาสนาอิสลาม ไม่นับถือนะบี หรือกาหลิบ องค์ใดว่า เป็นผู้สืบต่อศาสนา เพราะเท่ากับเป็นการยกย่อง ให้มีฐานะเท่าเทียม กับพระอัลเลาะห์ ไม่ยอมให้มี การทำพิธีกรรมใด ๆ  ที่นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้ ในคัมภีร์อัล-กุรอาน เพราะถือว่า เป็นการต่อเติม ศาสนาให้มัวหมอง
4.             นิกายคอวาริจ (Kowarige)นิกายนี้ ถือว่า ผู้นำโลก มุสลิม ต้องมาจากการเลือกตั้ง
     คัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นคัมภีร์ ภาษาอาหรับ ที่พระเจ้าประทาน แก่ศาสดามูฮำหมัด เมื่อประมาณ 1,400 ปีมาแล้ว ซึ่งมุสลิมทั่วโลก ถือว่า คัมภีร์ เล่มนี้ เป็นธรรมนูญแห่งชีวิต ตราบจนทุกวันนี้  แบ่งออกเป็นบท รวมทั้งหมด  144 บท  แต่ละบท เรียกว่า "ซูเราะห์" ซึ่งมีควายาว ไม่เท่ากัน  โดยมีจำนวนวรรค มากบ้างน้อยบ้าง แตกต่างกันออกไป และแต่ละวรรค เรียกว่า "อายะห์"

รายงานเรื่อง
1.             ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลาม
2.             อธิบายการบริจาคซะกาดและการประกอบพิธีฮัจญมาให้ถูกต้อง

3.             ศาสนาอิสลามมีกี่นิกาย แต่ละนิกายมีความสำคัญอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น