วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานการวิจัยเรื่อง:การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ชื่อรายงานการวิจัย:                  การสร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น ตามแนวทางพระพุทธศาสนา : กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

ผู้วิจัย:                                    ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ

หน่วยงาน:                                           สำนักสามัญศึกษา  วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ปีงบประมาณ:                                      ๒๕๕๕
ทุนอุดหนุนการวิจัย:                         วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

บทคัดย่อ

                การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น สร้างและพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น และประเมินผลการใช้รูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่น โดยใช้โปรแกรมอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยดำเนินการวิจัยตามแบบแผนวิจัย One Group Pretest-Posttest Design ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาอาชีวะจำนวน ๓๐ คน ใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรง แบบสอบถามทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติ t-test โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ระดับ ๙๕ %

                ผลการศึกษาพบว่า
                ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๙๐ เป็นเพศชาย ร้อยละ ๖๐.๐ มีผลการเรียนระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ ร้อยละ ๕๐.๐ เป็นบุตรคนที่ ๑  ร้อยละ ๔๐.๐ มีค่าใช้จ่ายต่อเดือนระหว่าง ๔,๐๐๑-๖,๐๐๐ บาท ร้อยละ ๓๖.๗ พ่อมีอาชีพรับจ้าง/ค้าขาย ร้อยละ ๔๓.๓ แม่มีอาชีพรับจ้าง และร้อยละ ๘๓.๓ พ่อแม่อยู่ด้วยกัน
                สำหรับความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรง ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านการเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ด้านการเป็นลูกศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์  ด้านการเป็นเพื่อนที่ของเพื่อน ด้านการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ด้านการเป็นสาวกที่ดีพุทธศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา หลังจากอบรม ตามโปรแกรมไตรสิกขาตามแนวพุทธ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ต่อพฤติกรรมความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกด้าน
                ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบทัศนคติการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นก่อนและหลังการสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงตามแนวพระพุทธศาสนา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ๔ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกศิษย์ที่ดี  ด้านพฤติกรรมการเป็นเพื่อนที่ดี  ด้านพฤติกรรมการเป็นพลเมืองที่ดี  ด้านทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง และแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ๒ ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมการเป็นลูกที่ดีของบิดามารดา  ด้านพฤติกรรมการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
                ข้อเสนอในการวิจัยครั้งนี้
สถานศึกษา และครู ควรมีนโยบายให้ผู้เรียนในโรงเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญของพฤติกรรมความรุนแรงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสถานบันและพฤติกรรมของผู้เรียนโดยมีการนำโปรแกรมการฝึกอบรมไตรสิกขาตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรวมถึงการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในสถานศึกษา สำหรับในการศึกษาครั้งต่อไปควรควรศึกษาความคงอยู่ของการตระหนักรู้ ทัศนคติ และทักษะการควบคุมพฤติกรรมความรุนแรง หลังจากที่วัยรุ่นได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ๓ เดือนหรือมากกว่านั้น และควรมีการนำรูปแบบ (Model) การสร้างและการพัฒนารูปแบบการลดพฤติกรรมความรุนแรงของวัยรุ่นตามแนวพระพุทธศาสนาไปปรับประยุกต์ใช้หรือทดลองกับกลุ่มอื่น ๆ

 Research Title:                          The Construction  and  Development  of  Models  for  youths’ 
                                                    Violent  Behaviors  Adjustment  According  to Buddhist  Approaches: 
                                                    A case Study Siam Technology College.
Researcher:                                  Dr. Niwes  wongsuwan 
Department:                               Faculty of Basic Education Siam technology Collage
Fiscal Year:                                    B.E.  2555/2012
Research Scholarship Sponsor:        Siam technology Collage

                                                                        ABSTRACT
            The research studies in this time for youth behavior violent learning growing and developing reduction for youth behavior violent using along by three signs program in Buddhism where as Quasi-Experimental Research . Along by capacity of One Group Pretest Posttest Design, some of example with 30 higher Education students. The data’s were analyzed by consist of the questionnaire for violent acknowledgement  of the questionnaire for violent opinion and three signs program in Buddhism  such as frequency percentage, mean  (), standard deviation (S.D.), t-test. The level of significance was used to test hypothesis at ๙๕ %  
According to the hypothesis of this research the results had found that.
All communities had been found that, almost the answers are women frequency percentage  ๙๐ were men and ๖๐.๐ has been of evaluate frequency percentage ๒.๕๑-๓.๕๐ almost percentage ๕๐.๐ had been the first child, frequency percentage ๔๐.๐ had been for expenditure  between ๔,๐๐๑ ๖,๐๐๐ Bath, frequency percentage  ๓๖.๗ their father had earned money by general work and sale  frequency percentage  ๔๓.๓ their mother had earned money by general work and frequency percentage  ๘๓.๓ their parents had been together.
On the other hand, the comprehensions for youth behavior violent parts namely, in the case of good children for father and mother, in the case of good student for teacher, in the case of good friend for friend, in the case of good citizen for country, and in the case of good for the Buddhist. According to the three signs program in Buddhism   had been found that some of example group could know youth behavior violent learning all increase.
For comparison youth behavior violent study to reduce youth behavior violent pre and post test for youth behavior violent  and evaluate for youth behavior violent  using along by three signs program in Buddhism. The different had found that hypothesis by four parts namely in good children for father and mother, in good student for teacher, in good friend for friend, in good citizen for country, and in good for the Buddhist. For skill to control youth behavior violent had some different hypothesis two parts namely, in the case of good children for father and mother and in the case of good for the Buddhist.

The suggestions for this research
            College and teachers should have some policy for students learning about institute and for youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent using along by three signs program in Buddhism  include teaching and do activity. For next studying should be have some model youth behavior violent and evaluate for youth behavior violent  using along by three signs program in Buddhism  for improve with another groups.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น