วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ


ปัจจัยขั้นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจมี ๔ ประการ/๔ M คือ

๑.คนหรือประชากร(Man)
๒.ทุน(Money)
๓.ทรัพยากรธรรมชาติ(Material)
๔.ความรู้ความชำนาญในการผลิต(Managements)
 
อริยทรัพย์ ประการ
อริยทรัพย์ คือทรัพย์ภายในอันประเสริฐ ดังนี้
1. สัทธา  ได้แก่ มีความเชื่ออย่างมีเหตุผล
2. ศีล  ได้แก่ รู้จักรักษากายวาจาให้เย็นให้ปกติ
3. หิริ  ได้แก่ ให้มีความละอายต่อบาปทุจริตทั้งปวง
 
4. โอตตัปปะ  ได้แก่ ให้ความเกรงกลัวต่อบาปทุจริตทั้งปวง
5. พาหุสัจจะ  ได้แก่ ให้มีความรู้และเล่าเรียนศิลปะวิทยาการให้มาก
6. จาคะ  ได้แก่ ให้รู้จักเสียสละอย่าเป็นคนคับแคบเห็นแก่ตัว
7. ปัญญา  ได้แก่  มีความรอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
 
ทิฎฐธัมมิกัตถธรรม 
ทิฎฐธัมมิกัตตถธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ในชาตินี้ หรือ หัวใจเศรษฐี อย่าง คือ อุ- อา- กะ- สะ ดังนี้
  1. อุฏฐานสัมปทา  ให้มีความขยันหมั่นเพียรในหน้าที่
  2. อารักขสัมปทา  ให้รู้จักรักษาทรัพย์ที่หามาได้
  3. กัลยาณมิตตา  ให้รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี
  4. สมชีวิตา  ให้รู้จักเลี้ยงชีวิตแต่พอดีพองาม
 
โภคาวิภาคธรรม
     โภคาวิภาคธรรม คือ ธรรมที่ควรยึดเป็นหลักในการใช้จ่ายทรัพย์ โดยแบ่งเป็น ส่วน ดังนี้
     1. เอเกน  โภเค  ภุญฺเชยฺ  ได้แก่ ทรัพย์ส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว
     2. ทวีหิ  กมฺมํ  ปโยชเย  ได้แก่ ทรัพย์สองส่วนใช้เพื่อลงทุนประกอบการงาน
     3. จตุตฺถญฺจ  นิธาเปยฺย  ได้แก่ ทรัพย์อีกส่วนหนึ่งให้เก็บไว้ใช้ในคราวที่จำเป็น
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น