วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555


     นักศีกษา ที่เรียน วันพฤหัสบดี  วิชา จริยศาสตร์  เดิมเรียนห้อง 9703 เวลา 13.00-15.30 น.เรียนรวม กันที่ทั้งหมด 9 กลุ่ม ตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่5 กรกฎาคม 55   ย้ายมาเรียนห้อง 9202 
ทั้ง 2 กลุ่ม  เช้าบ่าย
เช้า เวลา 8.30-11.00 น. สาขา
 -กต.4155, กต.2155, กต.4353
-บช.2155
-คธ.2155
-กร.4255
บ่าย เวลา 13.00 -15.30 น. สาขา
-นศ.4155, นศ.4155(เทียบโอน)
-กร.4155

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

จะทะเลาะกับใครดี

      จะทะเลาะกับใครดี
        ทะเลาะกับเมีย      เพลียที่สุด 

     ทะเลาะกับผัว              ปวดหัวที่สุด 
     ทะเลาะกับแฟน            แค้นใจที่สุด 
    ทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน   รำคาญที่สุด 
    ทะเลาะกับผู้ร่วมประชุม    กลุ้มที่สุด 
     ทะเลาะกับลูกน้อง         มัวหมองที่สุด 
     ทะเลาะกับนาย            ฉิบหายที่สุด

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คำถามท้ายบทหน่วยที่ 3

คำถามท้ายบทหน่วยที่  3

จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์
1.จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาชีวิต คืออะไร มีหลักธรรมที่เป็นองค์ประกอบอะไรบ้าง จงอธิบาย
2. หลักจริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาสังคม คืออะไร มีหัวข้อธรรมใดที่เหมาะสมในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ จงอธิบาย
3. จริยศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาครอบครัว มีความสำคัญอย่างไร มีอะไรบ้างจงชี้แจง
4. จริยศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการปกครอง มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
5. หลักจริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ คืออะไร มีอะไรบ้าง จงชี้แจง
6. จริยศาสตร์ตามบทบาทหน้าที่ความรู้สึกทางศีลธรรม หมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
7. จริยศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทางศีลธรรม มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตและหน้าที่การงานอย่างไรบ้าง จงชี้แจง
8. จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน และสังคม มีความสำคัญอย่างไร จงให้เหตุผลตามทัศนะของท่านพอสังเขป
9. คำว่าอบายมุข หมายถึง อะไร มีอะไรบ้าง ทำไมถึงเรียกเช่นนั้น จงอธิบาย
10.การตัดสินทางศีลธรรม คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง อธิบาย

คำถามท้ายหน่วยที่ 2

คำถามท้ายหน่วยที่ 2
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์
1.   หลักเกณฑ์ในการประกอบความดีตามหลักจริยศาสตร์ คืออะไร มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
2.   หลักจริยศาสตร์ขั้นมูลฐาน คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3.   หลักจริยศาสตร์ขั้นกลางที่น่าสนใจ มีอะไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
4.   หลักจริยศาสตร์ขั้นสูงเป็นเช่นไรเน้นเฉพาะธรรมะระดับใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างให้ชัดเจน
5.   จริยศาสตร์กับชีววิทยา คืออะไร มีความเกี่ยวพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
6.   จริยศาสตร์กับจิตวิทยามีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
7.   จริยศาสตร์กับสังคมศาสตร์ มีแนวคิดและความสอดคล้องกันอย่างไร จงอธิบาย
8.   จริยศาสตร์กับรัฐศาสตร์ มีหลักการอย่างไร แบ่งเป็นกี่ด้าน อะไรบ้าง จงอธิบาย
9.   ท่านคิดว่าจริยศาสตร์กับอภิปรัชญาเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร จงอธิบายพร้อมแสดงเหตุผล
10.ศาสนวิทยา หริอเทววิทยา มีความสัมพันธ์กับเหตุทางจริยศาสตร์อย่างไรบ้าง จงอธิบาย

คำถามท้ายหน่วยที่ 1

คำถามท้ายหน่วยที่ 1
จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้ใจความสมบูรณ์
1.            จริยศาสตร์คืออะไร มีบทต่อการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
2.            ทฤษฏีจริยศาสตร์คืออะไร มีที่มาอย่างไร ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตแนวไหนบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
3.            จริยศาสตร์มีจุดมุ่งหมายหลักอย่างไร จงอธิบายพร้อมยกเหตุผลประกอบ
4.            จริยศาสตร์มีขอบเขตและคุณค่าของการศึกษาอย่างไรในหน้าที่การงาน จงอธิบายพร้อมยกเหตุผลประกอบ
5.            ประโยชน์ของจริยศาสตร์อย่างไรบ้าง และทำไมจึงเรียกว่าประโยชน์ จงอธิบาย
6.            จริยศาสตร์กับจริยธรรมคืออะไร มีความเหมือนและแตกต่างอย่างไร จงอธิบาย
7.            ประเด็นสำคัญทางจริยศาสตร์คืออะไร ท่านมีมุมมองและทัศนคติเกี่ยวกับประเด็นทางจริยศาสตร์อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
8.            การดำเนินชีวิตที่ดีควรมีหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง ในแง่จริยศาสตร์
9.            มรรค 8 คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง  จะย่นย่อในไตรสิกขาได้อย่างไร มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
10. ท่านคิดว่าจริยศาสตร์มีความเหมาะสมกับอาชีพใดมากที่สุด เพราะเหตุใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 2 อาชีพ

วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปกรายงาน


รายงาน
                 
เรื่อง ....................................................................................................................


เสนอ
                         อาจารย์............................................................................



จัดทำโดย

1.ชื่อ....................................นามสกุล..............................รหัสนักศึกษา....................
2.ชื่อ....................................นามสกุล...............................รหัสนักศึกษา...................
3.ชื่อ.....................................นามสกุล..............................รหัสนักศึกษา...................



วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
                 รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา...............................รหัสวิชา.......................
            คณะ............................................สาขา..........................................................
                 ภาคเรียนที่ ............................................ ปีการศึกษา..........................

มคอ.3


                                                                                                มคอ.3
รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา        
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา
ทุกคณะ/สาขาวิชาและหลักสูตร ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  บางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ ๑๐๖๐๐
หมวดที่ ๑  ข้อมูลทั่วไป
.  รหัสและชื่อรายวิชา
     ๙๐๑-๑๐๑  วิชา  จริยศาสตร์
๒.  จำนวนหน่วยกิต
     ๓ หน่วยกิต  (๓-๐-๓)

๓.  หลักสูตรและประเภทของรายวิชา

    หลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา
4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
    ตอนเรียนที่      อาจารย์ ดร.นิเวศน์   วงศ์สุวรรณ
                          ๒.  อาจารย์กิจสดายุทต์   สังข์ทอง
 ๕.  ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน
    ภาคการศึกษาต้น/ปลาย ปีที่ ๑ และ ๒
๖.  รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (ถ้ามี)
    ไม่มี
๗.  วิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
    ไม่มี
๘.  สถานที่เรียน
    วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
๙.  วันที่จัดทำรายละเอียดของรายวิชา หรือวันที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด
     ๒   มิถุนายน  ๒๕๕๕
หมวดที่  ๒  จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์

๑.  จุดมุ่งหมายของรายวิชา
                .  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นมาของทฤษฎีจริยศาสตร์
                .๒  เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะความชำนาญทางความคิดและหลักเกณฑ์ในการพินิจพิเคราะห์
                .๓  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และแก้ปัญหาต่าง ๆ ในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน และสังคม
                .๔  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแทรกหลักจริยธรรมในหน้าที่และวิชาชีพต่าง ๆ ที่ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
                ๑.๕ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม อย่างต่อเนื่อง
        ยิ่ง ๆ ขึ้นไปในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
๒.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
๒.๑  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานจริยศาสตร์ทั่วไป
                ๒.๒  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับจริยศาสตร์กับการประกอบอาชีพต่าง ๆ  
๒.๓  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความจำเป็น ความสำคัญ ของจริยศาสตร์ใน
          ชีวิตประจำวัน   
๒.๔  เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างความเข้าใจในเนื้อหาจริยศาสตร์
          ความซาบซึ้งในจริยศาสตร์ทั้งสารัตถะและสุนทรียภาพตามหลักนิรุตติศาสตร์
              
หมวดที่ ๓  ส่วนประกอบของรายวิชา
 ๑.  คำอธิบายรายวิชา
          ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่สำคัญ แนวความคิดหลักเกณฑ์ การนำหลักวิชามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์ และการแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน สังคม และจริยธรรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติ การมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม

.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
๓ ชั่วโมง/สัปดาห์
-
-
๖ ชั่วโมง/สัปดาห์

๓.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล
     ๓  ชั่วโมง/สัปดาห์


หมวดที่ ๔  การพัฒนาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

๑.  คุณธรรม จริยธรรม
๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
                      ปลูกฝังความมีวินัย ใฝ่รู้ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบและความมีน้ำใจ 
            ๑.๒  วิธีการสอน
  ๑.๒.๑   การอธิบาย/บรรยาย
  ๑.๒.๒  การอภิปราย                                 
           ๑.๒.๓   การศึกษาค้นคว้ารายบุคคลหรือกลุ่ม
            ๑.๒.๔   การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            ๑.๒.๕  การใช้สื่อประกอบการสอน
            ๑.๓  วิธีการประเมิน
                ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน
๒.  ความรู้
               ๒.๑  ความรู้ที่จะได้รับ
                     ความรู้และทักษะเกี่ยวกับทฤษฎีทางจริยศาสตร์ที่สำคัญ แนวความคิดหลักเกณฑ์ การนำหลักวิชามาใช้ในการพินิจพิเคราะห์ และการแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน กลุ่มชน สังคม และจริยธรรมวิชาชีพต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติ การมีคุณธรรมและธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่วนรวมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคม
            ๒.๒  วิธีการสอน
                           การบรรยาย  การอภิปราย   การทำรายงานกลุ่มและรายงานเดี่ยว  การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การค้นคว้าด้วยตนเอง รวมทั้งกรณีศึกษาและ/หรือเชิญวิทยากรมาบรรยาย
                ๒.๓  วิธีการประเมิน
                      ประเมินผลจากการเข้าชั้นเรียน การอภิปราย การทำรายงาน การค้นคว้า การสอบกลางภาคและปลายภาค   
๓.  ทักษะทางปัญญา
            ๓.๑  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                     คิดสะท้อน (Reflective thinking) คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบรูณาการองค์ความรู้จากการวิพากษ์ ความบกพร่องทางจริยธรรม  ทฤษฎี และประเด็นปัญหาด้านจริยธรรมต่าง ๆ

            ๓.๒  วิธีการสอน
                      ใช้กระบวนการกลุ่มในการ อธิบาย อภิปราย สะท้อนความคิด การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การทำแฟ้มวิเคราะห์จากใบงานต่าง ๆ  ตลอดภาคการศึกษา
            ๓.๓  วิธีการประเมิน   
                ประเมินจากการเรียนการสอน การแสดงความคิดเห็นและการอภิปราย  รายงานรายบุคคล  รายงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้นเรียนและจัดส่งผลการวิเคราะห์ใบงานทุกสัปดาห์

.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                ๔.๑  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                     มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้เรียน มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ ความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์
                ๔.๒  วิธีการสอน
                      ทำกิจกรรมกลุ่มในลักษณะต่างๆ อภิปราย/บรรยาย สาธิต และการปฏิบัติ เช่น การแสดงความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคนน่ารัก ทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
๔.๓  วิธีการประเมิน
                      ประเมินจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน และประเมินจากผลการทำกิจกรรมกลุ่มและการทำรายงาน

๕.  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศ
๕.๑  ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารการใช้เทคโนโลยีและภาษาสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
                     ใช้ภาษาพูด  ภาษาเขียน ในการสื่อสาร ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบและถ่ายทอดภาษาและสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕.๒  วิธีการสอน
                     การสอนโดยใช้ Power point ประกอบการบรรยาย การทำรายงานโดยค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร และอินเตอร์เน็ต
๕.๓  วิธีการประเมิน
               ประเมินผลจากใบงาน การเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงาน




หมวดที่  ๕  แผนการสอนและการประเมินผล
. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
บทที่  ๑  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ จริยศาสตร์
-แนะแนววิธีการศึกษา
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-ทฤษฎีทางจริยศาสตร์
-จุดมุ่งหมายของจริยศาสตร์
-ขอบเตและคุณค่าของการศึกษา จริยศาสตร์
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-ประโยชน์ของการศึกษาจริยศาสตร์
-วิธีการศึกษาจริยศาสตร์
-จริยศาสตร์กับจริยธรรม
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
บทที่ ๒ แนวความคิดหลักในการวิเคราะห์เหตุผลทางจริยศาสตร์
-หลักประกอบความดีโดยทั่วไป
-หลักเกณฑ์จริยศาสตร์ขั้นมูลฐาน
-หลักเกณฑ์จริยศาสตร์ขั้นกลาง
-หลักเกณฑ์จริยศาสตร์ขั้นสูง
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับชีววิทยา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับจิตวิทยา
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับสังคมวิทยา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับรัฐศาสตร์
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้/อภิปราย
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับอภิปรัชญา
-เหตุผลทางจริยศาสตร์กับศาสนาหรือเทววิทยา
-บรรยาย
- ฝึกการวิเคราะห์และเขียนวรรณกรรม
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน
บทที่ ๓  การแก้ปัญหาทางจริยธรรมในระดับบุคคล ชุมชน และสังคม
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาสังคมและส่งเสริมการพัฒนาชีวิต
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและการพัฒนาสังคม
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาครอบครัว
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการปกครอง
-จริยธรรมเพื่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ
-จริยธรรมตามบทบาทหน้าที่ความรู้สึกทางศีลธรรม
-การแก้ปัญหาและการตัดสินปัญหาทางศีลธรรม
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๐



บทที่ ๔  การแทรกและนำหลักจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-ทฤษฎีว่ามาตรฐานตามหลักจริยธรรม
-จริยธรรมและมาตรฐานตามความเจริญของสังคม
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของบุตรธิดา

-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต

ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
สัปดาห์ที่
เนื้อหา
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน
การสอน
ผู้สอน





-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกา
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา






-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต



ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๒
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของประชาชน
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนายจ้าง-ลูกจ้าง
-จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของการครองชีวิต
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๓
บทที่ ๕ การมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามหลักจริยศาสตร์
-คุณธรรม ความรู้ และนิสัยตามหลักจริยศาสตร์
-คุณธรรมของคนกับคุณค่าของความเป็นคน
-คุณธรรมของคนกับสังคมรอบข้าง
-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๔







๑๕

-คุณธรรมของคนกับการเลือกดำเนินชีวิต
-คุณธรรมของคนกับการเป็นสมาชิกที่ดีในสังคม
-คุณธรรมของคนกับวิธีการเลือกทางสงบสุข


บทที่ ๖ ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม
-สิทธิและหน้าที่
-การจำแนกหน้าที่
-หน้าทางศีลธรรมของมนุษย์
-หน้าที่กับคุณธรรม
-หน้าที่ความรับผิดชอบต่อสังคมที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์
-ความรับผิดชอบและความขัดแย้งกับหน้าที่
-คุณธรรมกับความสุข







-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต





-บรรยาย
-แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-อภิปราย/สาธิต
ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง






ดร. นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ
อ. กิจสดายุทต์  สังข์ทอง
๑๖
สอบปลายภาค

* จำนวนชั่วโมงต้องสอดคล้องกับจำนวนหน่วยกิต

๒.  แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมที่
ผลการเรียนรู้*
กิจกรรมการประเมิน
กำหนดการประเมิน (สัปดาห์ที่)
สัดส่วนของการประเมินผล
ความรู้และทักษะการ
นำเสนอรายงาน
๗/๑๕
๓๐

วิเคราะห์ ภาษาการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ



ความรู้
การสอบกลางภาค    
๒๐
ความรู้
การสอบปลายภาค
๑๖
๓๐
ความรับผิดชอบ
การเข้าชั้นเรียน
ทุกสัปดาห์
๑๐
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง
การสังเกต/การทำรายงานกลุ่ม
ทุกสัปดาห์
๑๐

บุคคลและความรับผิดชอบ



* ระบุผลการเรียนรู้หัวข้อย่อยตามที่ปรากฏในแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบของรายวิชาของรายละเอียดของหลักสูตร (แบบ มคอ. ๒)
 
หมวดที่  ๖  ทรัพยากรประกอบการเรียน
๑.  ตำราและเอกสารหลัก
          . ให้นักศึกษาไปค้นคว้าความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับจริยศาสตร์ หรือหนังสือแนวพุทธธรรมเพิ่มเติมจากห้องสมุด และค้นคว้าหาจาก Website ต่าง ๆ ตามที่จะเห็นสมควร
                ๒. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ประยุตฺโต) .ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์
สหธรรมิก จำกัด ๒๕๔๗
          .  นิเวศน์   วงศ์สุวรรณ .จริยศาสตร์. ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, กรุงเทพมหานคร. ๒๕๕๐
                ๔.  นิเวศน์  วงศ์สุวรรณ .รายงานการวิจัย เรื่อง  การศึกษากิจกรรมที่พัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาสังกัดสถาบันการศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม  ประจำปีการศึกษา  ๒๕๕๓

หมวดที่ ๗  การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

๑.  กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต
                ๑.๑  ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
                ๑.๒  สอบถามความคิดเห็นจากนิสิตในสัปดาห์สุดท้าย
๑.๓  ให้นิสิตเขียนแสดงความคิดเห็นการสอนในสัปดาห์สุดท้าย
๒.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากคณาจารย์ผู้สอนปลายภาค
๓.  การปรับปรุงการสอน
                ๓.๑   นำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุงการสอน
๓.๒   ค้นคว้าข้อมูลความรู้ใหม่ๆนำมาใช้ในการสอน
๓.๓   กลุ่มคณาจารย์จัดอภิปราย/สัมมนาเพื่อพัฒนารายวิชาให้มีสาระวิชาและการสอนให้เหมาะสม
          และน่าสนใจ
๔. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนิสิต
                ๔.๑  ให้นิสิตได้มีโอกาสตรวจสอบคะแนนและเกรดก่อนส่งเกรดให้สำนักทะเบียนและประมวลผล
๔.๒  ก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค จัดประชุมคณาจารย์เพื่อออกข้อสอบร่วมกับการพัฒนาข้อสอบเพื่อให้ได้มาตรฐาน
๕.  การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนิสิต การประชุมสัมมนา นำมาสรุปผลและพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคการศึกษาหน้า