วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บทที่ ๖ ความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคม

๑. สิทธิและหน้าที่
  สิทธิ คือ อำนาจหรือประโยชน์บางอย่างที่บุคคลพึงได้รับตามที่กฎหมายรับรอง หรือคุ้มครองไว้ เช่น สิทธิในร่างกาย ในการศึกษาอบรม ในทรัพย์สิน เป็นต้น
  หน้าที่ คือภารกิจ ที่บุคคลผู้เป็นพลเมืองดีของรัฐต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้า และเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ ดังคำที่ว่า คนที่ดีที่สุดคือคนที่ทำหน้าที่ของตนได้ดีที่สุด

บทที่ ๕ การมีคุณธรรมต่าง ๆ ตามหลักจริยศาสตร์

๑. คุณธรรม  ความรู้  และนิสัย
    ต่างมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันดังนี้
    ๑. คุณธรรม  คือ  สิ่งที่บุคคลควรประพฤติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ หรือ เป็นไปตามหลักแห่งธรรมชาติ
    
๒. ความรู้ คือ สิ่งที่บุคคลควรหา เพื่ออำนวยให้ชีวิตเป็นอยู่โดยความปลอดภัยโดยอัตตภาพ
    ๓. นิสัย คือ พฤติกรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลสั่งสมให้เกิดขึ้นภายในตน ด้วยการปฏิบัติซ้ำ ๆ
  ส่วนอุปนิสัย คือ สิ่งที่ปรุงแต่งจิตที่ก่อตัวขึ้นเป็นเวลานาน อยู่ในส่วนลึกของจิต หรือนอนเนื่องอยู่ในสันดาน
๒. คุณธรรมของคนกับคุณค่าของความเป็นคน

บทที่4

    หน่วยที่  4
การแทรกและนำจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต

ทฤษฎีว่าด้วยมาตรฐานตามหลักจริยธรรม
     ศาสนามี  2  ประเภท คือ
     ๑. อเทวนิยม คือ กลุ่มศาสนาที่ไม่มีพระเจ้า ไม่มีการอ้อนวอนขอพระเจ้า  ได้แก่  ศาสนาพุทธ และศาสนาซิกข์
     ๒. เทวนิยม คือ กลุ่มศาสนาที่มีพระเจ้า มีการอ้อนวอนขอพรจากพระเจ้ามาปกป้องคุ้มครอง ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์ อิสลาม คริสต์
ประเด็นความถูกกับความดี