วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

งานวิจัย อ.เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์

การศึกษา จริยธรรม ความเกรงใจ และความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธและการยอมรับ A Study of Morals, Moderateness, and Self-pride of Students in Institutions of Education Who Have Their Refusal and Acceptance Behaviors. เกรียงศักดิ์ ราชโคตร์ สำนักสามัญศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม บทคัดย่อ งานวิจัยเรื่องการการศึกษาจริยธรรม ความเกรงใจ และความภาคภูมิใจในตนเองของนักศึกษาใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธและการยอมรับ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านจริยธรรมของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธและพฤติกรรมการยอมรับ 2. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความภาคภูมิใจของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธและพฤติกรรมการยอมรับ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรม ความเกรงใจ และความภาคภูมิใจ ของนักศึกษาที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธและพฤติกรรมการยอมรับ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.นักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีพฤติกรรมปฏิเสธ มีจริยธรรมแตกต่างจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีพฤติกรรมการยอมรับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=6.5443) 2.นักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธ มีความเกรงใจแตกต่างจากนักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีพฤติกรรมการยอมรับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=3.0044) 3. นักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ที่มีพฤติกรรมเชิงปฏิเสธ มีความภาคภูมิใจในตนเองแตกต่างจากนักศึกษาในกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่มีพฤติกรรมการยอมรับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01(t=2.9318) ABSTRACT A research on “The Study of Ethics, Considerate and Self-esteem of Students at the Private Higher Education Institutions Who Had Negative and Positive Behaviors” had the following purposes : 1. to compare the ethical difference of the students who had the negative and positive behaviors; 2. to compare the considerate difference of the students who had the negative and positive behaviors; and 3. to study the relationship of ethics, considerate and self-esteem by using 120 sample population. The results were as follows: 1. All students in the sample groups who had the negative behaviors had ethical difference from the students in the sample group who had positive behaviors in the statistic significant average at .01 (t = 6.5443). 2. All students in the sample groups who had the negative behaviors had considerate difference from the students in the sample group who had positive behaviors in the statistic significant average at .01 (t = 3.0044). 3. All students in the sample groups who had the negative behaviors had self-esteem difference from the students in the sample group who had positive behaviors in the statistic significant average at .01 (T = 2.9318).

งานวิจัย อ.กิจสดายุทต์ สังข์ทอง

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม A Comparison of the Effectiveness of the Study of Ethics Between Normal Study in the Classroom and the System of Online Study Through Siam Technology College ‘s CAI โดย นายกิจสดายุทต์ สังข์ทอง งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ประจำปีงบประมาณ 2555

      ภาษาไทย     การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ระหว่างการเรียนให้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

  ภาษาอังกฤษ     A Comparison of the Effectiveness of the Study of Ethics Between Normal Study in the Classroom and the System of Online Study Through Siam Technology College’s CAI


บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กรุงเทพมหานคร  โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน( Pre-test) และหลังการเรียน(Post-test) ของกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI  (2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI  (3)เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI และ4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ CAI
          กลุ่มตัวอย่าง   ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีและ หลักสูตร 4 ปีเทียบโอน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ทุกคณะ ทุกสาขา ทุกหลักสูตร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจริยศาสตร์ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 แบ่งเป็น 2 กลุ่มจากคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะบัญชีและคณะเทคโนโลยี โดยใช้วีธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามความสะดวก โดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เพื่อความสะดวกในการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรคณะเทคโนโลยีทั้งสามสาขาและศิลปศาสตร์ทั้งสองสาขา จำนวน 75 คน กำหนดให้เรียนในชั้นเรียนปกติ เรียนโดยใช้การเรียนการสอนด้วยPower Point มีหนังสือประกอบการเรียนการสอนโดยมีอาจารย์เป็น        ผู้บรรยาย กลุ่มที่ 2 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรคณะบริหารธุรกิจทั้งสองสาขา และการบัญชีจำนวน 75 คน กำหนดให้เรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปสามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ ไปด้วย1)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (pre-test) และหลังเรียน (post-test) จำนวนชุดละ20 ข้อรวม 40 ข้อ และ2)  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ด้วย CAI ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย    ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบค่าที (t – test )

           ผลการศึกษาพบว่า 
           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มที่ 1 โดยวิธีการเรียนในห้องเรียนปกติ วิชา จริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา  กับ นักศึกษากลุ่มที่ 2โดยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน
           2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI มีค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังเรียนสูงกว่า นักศึกษา กลุ่มที่ 1 ที่เรียนในห้องเรียนปกติ
           3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนในห้องเรียนปกติ วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.14 มีหมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  14  และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.53 มีหมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  53
 4. นักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ CAI มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด 
คำสำคัญ:  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซีเอไอ(คอมพิวเตอร์ช่วยสอน) วิชาจริยศาสตร์

ABSTRACT  


This research was a comparative study of the Ethics proficiency between the formal study in the classroom and the study via Siam Technology College’s CAI online. The objectives of this research were as follows: 1) to compare the Ethics proficiency of  the pre-test period  and the  post-test period between  groups of students who studied in the formal classroom and the students who studied via CAI online; 2) to compare the difference of the Ethics proficiency of the post-test period between groups of the students who studied in the formal study in the classroom and the students who studied via CAI; 3) to know the validity of the Ethics proficiency of the students who studied in the formal study in the classroom and the students who studied via CAI online ; and 4) to study the students’ satisfaction towards the Ethics study via   CIA online.
The subjects were undergraduate students of the four years normal course and the four years transfer credits course of Siam Technology College, Bangkok, Thailand, belonging to all faculties, fields and courses, who were registered to study the Ethics in the first semester of the academic year 2012. They were divided into two groups of students of the Faculty of Business, the Faculty of Fine Arts, the Faculty of Accounting and the Faculty of Technology. The subjects were also two groups of students; the first group were 75 first year students of three branches of technology course and two branches of the fine arts. They were assigned to study in the formal classroom, with the use of power point and textbook and the teacher’s lectures. The second group were 75 first year students of two branches of the Faculty of Business and the Faculty of Accounting. They were assigned to study via CAI online, by using computers to learn lessons online. The instruments used in collecting data were 1) the Ethics proficiency tests of the pre-test and the post-test each having 20 questions; and 2) questionnaire on students’ satisfaction towards the Ethics proficiency via CAI online. The used statistics were descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics including T-test.
The results of research were found as follows:
1.The Ethics efficiency entitled “The Morality and Roles and Duties of Students” of the first group of students who studied in the formal classroom and the second group of students who studied via CAI online, had statistic difference between the pre-test period and the post-test period at the level of average .05; and two groups of students had a higher level of average in the post-test than in the pre-test period.
2. The results of the comparison of difference of the Ethics efficiency entitled “The Morality and Role and Duties of the Students” between the students who studied in the formal classroom and the students who studied via CAI online, were found that the second group of students who studied via CAI online  had a higher level of average than the first group of students who studied in the formal classroom.
3. The validity of the Ethics proficiency entitled “The Morality and Roles and Duties of Students” who studied in the formal classroom had the level of average 0.41; which meant that the students in this group made a progress in the study in 14 percent increase. The validity of the Ethics proficiency entitled “The Morality and Roles and Duties of Students” of the students who studied via CAI online had the level of average 0.53; which meant that the students in this group made a progress in the study in 53 percent increase.
4. The students who studied Ethics via CAI online had satisfaction towards the study in the whole view of the highest level.


Keywords:  Effectiveness of the Study CAI (Computer Assisted Instruction) Ethics



1.บทนำ/Introduction
ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนช่วยทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้วิทยาการต่างๆ คือ ใช้เป็นแหล่งรวบรวม ค้นคว้าและเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการให้กับผู้ที่สนใจแสวงหาความรู้สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพ
วิชาจริยศาสตร์เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาทุกระดับชั้น แต่การเรียนการสอนวิชาจริยศาสตร์ในปัจจุบันยังประสบปัญหาอยู่หลายประการ ตัวอย่างเช่นการจัดกลุ่มเรียนเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ทำให้นักศึกษาต้องประสบปัญหาจากสภาพแวดล้อมของการเรียน ผู้เรียนขาดการสื่อสารโต้ตอบกับผู้สอน ผู้เรียนไม่อาจติดตามการเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ดีขึ้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่ศึกษาหาแนวทาง เพื่อนำไปใช้ช่วยในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอ้างระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI เป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI ทำให้นักศึกษามีโอกาสได้ทบทวนเพิ่มเติมนอกเวลาเรียนปกติด้วยตัวเอง นอกจากนี้ระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วย CAI มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและยังมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนได้ จึงเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนากระบวนการคิด การวิเคราะห์ของผู้เรียนควบคู่กันไปได้ด้วย
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้มีการสนับสนุนให้หลายหน่วยงานจัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นมา เช่น ศูนย์บริการ E-Learning วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้ดำเนินการผลิตสื่อการเรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI รูปแบบต่างๆออกมาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้มีการพัฒนาการผลิตการเรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI ดำเนินไปในแนวทางที่ดียิ่งขึ้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะจัดทำการวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทราบถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ที่มีต่อระบบการเรียนแบบออนไลน์ด้วย CAI ดังกล่าวว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนหรือไม่อย่างไร
ทั้งนี้การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาของชาติ ใน มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้ เช่น ข้อที่ (6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ การจัดการเรียนการสอนในลักษณะ ดังกล่าวจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาได้เป็นอย่างดี
           
สำหรับด้านการเรียนการสอน ผู้สอนจะถ่ายทอดความรู้ใช้วิธีการบรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนองาน การถามตอบ การสังเกต และการค้นคว้าเพิ่มเติมให้แก่นักศึกษา  นักศึกษาจำนวนหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนจึงส่งผลให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่น่าสนใจในการเรียน ขาดเรียนบ่อยซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่าปัญหาในการจัดการเรียนการสอน ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข  เพื่อให้การเรียนวิชา จริยศาสตร์  สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน จึงใช้เทคโนโลยี ได้แก่ คอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลายรูปแบบ เช่น    การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI) การเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (Internet) ที่เรียกว่า อีเลิร์นนิ่ง (E-learning)
การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบอีเลิร์นนิ่ง มีผลการวิจัยสนับสนุนว่าสามารถนำมาทดแทนหรือใช้เสริมระบบการเรียนการสอนแบบเดิม (Tradition Instruction) ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง ( สิริพร ทิพย์สูงเนิน,2547)เนื่องการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ในระบบอีเลิร์นนิ่งเน้นผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสามารถควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จากสถานที่ใด ณ เวลาใดก็ได้ ตลอดทั้ง 7 วัน และวันละ 24 ชั่วโมง การบริหารจัดการเรียนการสอน เช่น การสร้างเนื้อหา สื่อการเรียน การนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะด้าน(Application Software) เป็นเครื่องมือซึ่งเรียกว่า ระบบบริหารจัดการรายวิชา(Course Management System: CMS) หรือระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) (มนต์ชัย เทียนทอง,2545;ถนอมพร เลาหจรัสแสง,2549:23-26) จึงทำให้การบริหารจัดการเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่งสมารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาเป็นฐานในการเรียนรู้ หรือ ICT Based โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ในแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ด้านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามร่วมมือกับ Cisco Networking Local Academy Agreement เพื่อจัดทำการเรียน การสอนผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยให้สถาบันทั้งสองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำมาใช้ได้จริง โดยมุ่งเน้นนำระบบCAI มาใช้สนับสนุนการเรียนการสอนของวิทยาลัยร่วมกับการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามในปัจจุบันสามารถนำระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายวิชา วิชาจริยศาสตร์ และวิชาอื่นๆ โดยใช้ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้หรือLMS (Learning management System) ประเภทซอฟท์แวร์เปิดเผยรหัส เช่น ระบบ Moodle และระบบ CAI คอมพิวเตอร์ช่วยสอนรูปแบบหนึ่งในการนำเสนอสื่อ ได้แก่ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์และเสียง การโต้ตอบเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียน (ฝ่ายวิชาการ E-Learning วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม,2553)การเรียนการสอนส่วนใหญ่เน้นผู้สอนเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีโอกาสทบทวนเนื้อหา ซักถามข้อสงสัย มีข้อจำกัดด้านเวลาในชั้นเรียนปกติ เพราะแต่ละภาคการศึกษามีวันหยุดที่ราชการกำหนดบ่อยๆ จึงทำให้นักศึกษาเกิดความเบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจในการเรียน อีกทั้งการเรียนการสอนขาดการเสริมสร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้ โดยใช้ CAI เป็นเครื่องมือด้วยตนเอง จึงมีผลทำให้นักศึกษามีศักยภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2543  ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการจัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามมีเป้าหมายนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นฐานในการเรียนการสอน(ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม,2552) เป็นข้อดีของรูปแบบการเรียนการสอนในระบบระบบ CAI ซึ่งสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญหรือศูนย์กลางได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ ทั้งนี้กระบวนการจัดการเรียนการสอนของคณาจารย์ในวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามซึ่งส่วนใหญ่ยังคงใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติโดยมีผู้สอนเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสนันสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบ CAI โดยเลือกเนื้อหาสร้างบทเรียน วิชา จริยศาสตร์ซึ่งนักศึกษาบางคนหรือบางกลุ่มในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีและหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเทียบโอน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามจะต้องเรียนเป็นรายบังคับพื้นฐานหมวดวิชาสามัญศึกษา จำนวน 30 หน่วยกิต ซึ่งมีอยู่ 5 กลุ่มวิชา 1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2. กลุ่มวิชาภาษาศาสตร์ 3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ 4. กลุ่มวิชาพลศึกษา 5. กลุ่มวิชาบูรณาการ ในบางกลุ่มวิชาได้ใช้ซอฟต์แวร์ระบบบริหารจัดการเรียนรู้ CAI (Computer Assisted Instruction) โดยเข้าในเว็บไชต์ http://www.cai.siamtechu-learn.net/   ให้ผู้เรียนเลือก คณะ/สาขาวิชา รายชื่อวิชา แล้วนำเมาส์คลิกเข้าไปที่รายวิชา จะขึ้นว่า E-Learning และ Differently i-learn แล้ว (Enter) ก็นำเข้าสู่บทเรียน แล้วคลิ๊กต่อจะขึ้น ว่ากรุณากรอกข้อมูล คำนำหน้า ชื่อ-สกุล วัน-เดือน-ปี-พ.ศ.และเวลา แล้วคลิ๊กต่อจะขึ้นว่า เข้าสู่บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาจริยศาสตร์ รหัส 901-105 หน่วยที่ (บทที่) ชื่อผู้เรียน เข้ามาลำดับที่ ต้องคลิ๊กต่อไป ก็จะขึ้นว่า เมนูหลัก มี 4 หัวข้อ 1.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 2.แบบทดสอบก่อนเรียน   3. เข้าสู่บทเรียน 4. แบบทดสอบหลังเรียน แล้วใช้เมาส์ชี้ไปที่เรื่องต่างๆ แล้วคลิ๊กเข้าไปตามหัวข้อต่างๆก็จะเข้าสู่เนื้อหานั้นได้เลย ส่วนบทอื่นๆก็จะเป็นเช่นเดียวกัน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย/Objective
1.    เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน( Pre-test) และหลังการเรียน(Post-test) ของกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI
2.    เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างกลุ่มของนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI
3.    เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลทางการเรียนรู้ของกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในชั้นเรียนปกติและกลุ่มนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI
4.    เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา ที่มีต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ CAI

วิธีดำเนินการวิจัย/Methods
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
           นักศึกษาระดับปริญญาตรี แบ่งเป็น 2 กลุ่มจากคณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ คณะบัญชีและคณะเทคโนโลยี โดยใช้วีธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามความสะดวก โดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น เพื่อความสะดวกในการดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย
          กลุ่มที่ 1 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรคณะเทคโนโลยีทั้งสามสาขาและศิลปศาสตร์ทั้งสองสาขา จำนวน 75 คน กำหนดให้เรียนในชั้นเรียนปกติ เรียน
โดยใช้การเรียนการสอนด้วยPower Point มีหนังสือประกอบการเรียนการสอนโดยมีอาจารย์เป็นผู้บรรยาย และมีนักศึกษานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน (งานกลุ่ม)
          กลุ่มที่ 2 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรคณะบริหารธุรกิจทั้งสองสาขา และการบัญชี จำนวน 75 คน กำหนดให้เรียแบบออนไลน์ด้วย CAI เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปสามารถออนไลน์ได้ตลอดเวลา
2. กำหนดตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา
ตัวแปรจัดกระทำ  คือ  ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ CAI มีการนำเสนอเนื้อหาในการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาแตกต่างกัน 2 รูปแบบ คือ แบบหนังสือเรียนเป็นรูปเล่มทั้งผู้สอนและนักศึกษาใช้เป็นรายวิชาเดียวกันสอนในห้องเรียนและบทเรียนแบบออนไลน์ CAI บนหน้าเว็บ ตามรูปแบบบทเรียนสำเร็จรูปของ CAI
ตัวแปรตาม (dependent variable)  ได้แก่ คะแนนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน(Pre-test)  และคะแนนสอบการวัดผลสัมฤทธิ์จากการเรียนหลังเรียน (Post-test) ทั้งในห้องเรียนปกติและแบบออนไลน์ CAI

3. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

        เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ ไปด้วย
              1. แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (pre-test) และหลังเรียน (post-test) จำนวนชุดละ 20 ข้อ รวม 40 ข้อ
2.  แบบสอบถามความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ด้วย CAI ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จำนวน 30 ข้อ
4. การสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือ
       การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นดังนี้
4.1. การสร้างแบบทดสอบ โดยการนำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ทดสอบหาความเที่ยงของเครื่องมือ 2 ครั้ง เว้นระยะห่างการทดสอบ 2 สัปดาห์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบทดสอบที่สร้างขึ้นเป็นแบบปรนัย 5 ตัวเลือก ได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                4.1.1 ศึกษาทฤษฏีและวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผล ของวิชาจริยศาสตร์และเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ โดยศึกษาเทคนิคการสร้างแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์แบบอิงเกณฑ์ชองบุญชม  ศรีสะอาด (2545 : 56 96)
              4.1.2 วิเคราะห์หลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้  และเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างแบบทดสอบให้มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหาและจุดประสงค์
               4.1.3  สร้างแบบทดสอบ  แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  5  ตัวเลือก  ให้ครอบคลุมเนื้อหาความเหมาะสมของภาษาที่ใช้  ตลอดจนประเมินความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์การเรียนรู้กับแบบทดสอบโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาของพวงรัตน์  ทวีรัตน์(2538 : 117) ดังนี้
                      คะแนน  1  เมื่อแน่ว่าข้อสอบนั้นวัดตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                      คะแนน  0  เมื่อไม่แน่ใจว่าข้อสอบนั้นวัดตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                      คะแนน  -1  เมื่อแน่ใจว่าข้อสอบนั้น  ไม่วัดตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
     เมื่อบันทึกผลการพิจารณาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน  ในแต่ละข้อแล้วนำไปหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด  เพื่อเลือกเอาข้อสอบที่มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัด  เพื่อเลือกเอาข้อสอบที่มีดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์ที่ต้องการวัดตั้งแต่  0.5  ขึ้นไป
              4.1.4 นำแบบทดสอบ ที่ได้รับการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหามาทำการวิเคราะห์(TRY Out) โดยทำการทดสอบกับนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 50 คน
              4.1.5 นำกระดาษคำตอบมาตรวจให้คะแนน โดยข้อสอบที่ถูกต้องให้ 1 คะแนนข้อสอบที่ผิดหรือไม่ตอบ  หรือตอบมากเกินกว่า 1 ตัวเลือก ให้คะแนน 0 คะแนน
              4.1.6 นำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์หาความยากง่าย (P) และหาอำนาจจำแนก(r) ของแบบทดสอบรายข้อ  โดยใช้เทคนิค 50% แล้วคัดเลือกเอาข้อสอบที่มีระดับความยากง่าย(P) อยู่ระหว่าง .20 - .80 และมีค่าอำนาจจำแนก(r)ตั้งแต่ .20  ขึ้นไป  ข้อใดที่มีคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ก็ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
4.2 การสร้างแบบวัดความพึงพอใจ สร้างแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ด้วย CAI ได้ดำเนินการสร้าง ดังนี้
               4.2.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบประเมิน แบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำ จากหนังสือพื้นฐานการวิจัยการศึกษา สมนึก ภัททิยธนี (2548:74-103)
               4.2.2 ศึกษาวิธีสร้างแบบวัดความพึงพอใจ และกำหนดรูปแบบการเขียนข้อคำถามในแบบวัด
               4.2.3 แบบทดสอบความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ด้วย CAI             
                     
5. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
      5.1 ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) โดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนเรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา จำนวน 20 ข้อ ก่อนจะดำเนินการเรียนทั้งสองแบบ
           5.2 การทดสอบหลังเรียน (Post-test) เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เสร็จสิ้นแล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนโดยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง จริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา จำนวน  20   ข้อ 
      5.3 การตรวจให้คะแนนและนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์แปรผลด้านประสิทธิภาพ โดยวิธีทางสถิติ      
      5.4 หลังจากดำเนินการสอนเสร็จสิ้น แล้วให้นักศึกษาทำแบบสอบถามแสดงความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ด้วย CAI วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยใช้สถิติในการวิจัยประกอบด้วย
6.1 สถิติที่ใช้ในการหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบ การหาค่าความตรงเชิงเนื้อหาหรือค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง แบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมในวิชาจริยศาสตร์
6.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือหาค่าความยากง่าย และค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบและค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบย่อย วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
6.3 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม  SPSS  for  windows  (Statistical  Package  for  Social  Science  for  windows)  ซึ่งได้ค่าสถิติดังนี้
                   6.3.1 การคิดคะแนนร้อยละ
                   6.3.2 การหารค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนน
                   6.3.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)   
                   6.3.4 การวิเคราะห์หาดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ตามวิธีการของ กูดแมน, เฟลทเชอร์ และชไนเดอร์ (1980: 30-34.)
                   6.3.5. การเปรียบเทียบความแตกต่าง-ก่อนเรียนและหลังเรียน

 ผลการการวิจัยและอภิปรายผล/Results and Discussion
          การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI  สามารถนำประเด็นสำคัญมาอภิปรายผลได้ ดังนี้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มที่ 1 โดยวิธีการเรียนในห้องเรียนปกติ กับ นักศึกษากลุ่มที่ 2 โดยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI ในวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาซึ่งเหมือนกันทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน แสดงว่า การเรียนทั้ง 2 วิธีมีผลที่ดีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา เพราะไม่ว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติหรือการเรียนการสอนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI ก็สามารถพัฒนาการเรียนรู้แก่นักศึกษาให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นได้ แต่เมื่อพิจารณาจากค่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า การเรียนการสอนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าวิธีการเรียนการสอนในห้องเรียนปกติ นั่นแสดงว่าการเรียนการสอนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI เป็นวิธีการเรียนวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
    1.1 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI มีค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่า นักศึกษา กลุ่มที่ 1 ที่เรียนในห้องเรียนปกติ แสดงว่า วิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI เป็นวิธีการเรียนรู้ที่นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากการใช้เทคโนโลยี การสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ด้วยการนำเสนอเพื่อสร้างประสบการณ์ โดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง ที่นำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จึงเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง อาจสรุปได้ว่าระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ CAI เป็นวิธีการเรียนการสอนที่มีศักยภาพ สามารถช่วยแก้ปัญหาในด้านของข้อจำกัดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ศึกษาของ
  ผู้เรียน เป็นการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันทางการศึกษา  ช่วยส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เปลี่ยนจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมไปสู่โลกกว้างแห่งการเรียนรู้  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่างๆได้ สนับสนุนการเรียนรู้ที่กระตือรือร้น เอื้อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ 2 รูปแบบ คือ ปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนด้วยกันและผู้สอน  เปิดโอกาสสำหรับผู้เรียนในการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ทั้งในและนอกสถาบันจากในประเทศและต่างประเทศทั่วโลก เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานของตน สู่สายตาผู้อื่นอย่างง่ายดาย ผู้สอนสามารถปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร ให้ทันสมัยได้อย่าง สะดวกสบาย
             1.2 ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนในห้องเรียนปกติ วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.14 มีหมายความว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  14  และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.53 มีหมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  53
            สรุปได้ว่าระบบการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ CAI หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ส่วนบุคคล ผู้เรียนได้โต้ตอบกับเนื้อหา     สร้างความตื้นเต้นในการรับรู้ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองมีความรู้ ความเข้าใจเนื้อหามากขึ้นกว่าการเรียนในห้องเรียนปกติหรือจากบทเรียนเพียงอย่างเดียว ช่วยให้การเรียนมีคุณภาพและมีทัศนคติต่อการเรียน  เป็นผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น    ดังนั้นหากได้มีการพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ CAI หรือคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาจริยศาสตร์ จะทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
      1.3 นักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ CAI    มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด  เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์การเรียนการสอนผ่านเว็บ สร้างโดยอาศัยหลักการใช้สิ่งเร้าเพื่อให้เกิดการตอบสนอง  มีการโต้ตอบซักถามปัญหา ในขณะเรียน ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักคิดและปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน  นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตรงกับแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  จากผลการวิจัยในการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI พอสรุปได้ว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจมากถึงมากที่สุด ที่บทเรียน CAI สามารถโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ในขณะที่เรียนมากกว่าสื่อการเรียนการสอนประเภทอื่น ๆ บทเรียน CAI สนับสนุนการเรียนแบบรายบุคคล (Individualization) ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเวลาใดก็ได้ตามต้องการ พร้อมกันนั้นบทเรียน CAI ยังสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากบทเรียน CAI ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการนำเสนอบทเรียน เป็นสิ่งแปลกใหม่ มีการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนตลอดเวลา ผู้เรียนไม่เบื่อหน่าย ทำให้ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนด้วย และท้ายสุด บทเรียน CAI ยังให้ผลย้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนได้อย่างรวดเร็ว ผู้เรียนทราบความก้าวหน้าของตนเองได้ทันที
            ผลของการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม โดยผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม คือ กลุ่มที่เรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ในห้องเรียนปกติ และกลุ่มที่ 2 กลุ่มทดลอง คือ นักศึกษาที่เรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษาด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI ทำให้ผู้ศึกษาเห็นข้อเปรียบเทียบระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับการเรียนจากระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI ที่ผู้ศึกษาได้รู้ถึงข้อดีและข้อได้เปรียบของการเรียนแบบออนไลน์ CAI สามารถนำมาพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ทำให้นักศึกษามีความสนใจในเนื้อหา   มีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยไม่รู้สึกเบื่อหน่าย  มีความสุขในการเรียน และสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้  ส่งผลทำให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI มากถึงมากที่สุด และมีความพึงพอใจสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ ดังนั้น ผู้ศึกษาจะได้นำผลการวิจัยในครั้งนี้ ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ไปพร้อมๆกับการพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์  และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสูงขึ้นต่อไป

สรุป
        การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI  ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปีและ หลักสูตร 4 ปีเทียบโอน ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ทุกคณะ ทุกสาขา ทุกหลักสูตร ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจริยศาสตร์ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 พบว่า
           1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษากลุ่มที่ 1 โดยวิธีการเรียนในห้องเรียนปกติ วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา  กับ นักศึกษากลุ่มที่ 2โดยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่า ก่อนเรียน
           2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา ระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติกับระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 2 ที่เรียนด้วยวิธีการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI มีค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนและหลังเรียนสูงกว่า นักศึกษา กลุ่มที่ 1 ที่เรียนในห้องเรียนปกติ                                                                               
           3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนในห้องเรียนปกติ วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.14 มีหมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14  และดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยระบบการจัดการเรียนแบบออนไลน์ CAI วิชาจริยศาสตร์ เรื่องจริยธรรมกับบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีค่าเท่ากับ 0.53 มีหมายความว่า ผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ  53
           4.  นักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการจัดการเรียนวิชาจริยศาสตร์แบบออนไลน์ CAI    มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด

 เอกสารอ้างอิง
           กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศราชกิจจานุเบกษา เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552:18 กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,  2542.
           วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ฝ่ายวิชาการ E-Learning, 2553  
            มนชัย  เทียนทอง.“WBI  (Web-Based   Instruction)  WBT  (Web-Based   Training),พัฒนาเทคนิคการศึกษา.13(27) :72-78; มกราคม-มีนาคม, 2554.
           ศิริชัย นามบุญ.รศ.ดร.(2550).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรม หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ในสภาพแวดล้อมแบบอีเลิร์นนิ่ง ผ่านโปรแกรม Moodle.  มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
           สิริพร ทิพย์สูงเนิน. การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียน e-Learning เรื่อง "ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต" สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดกรมสามัญศึกษา, มหาวิทยาลัย : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือพ.ศ.2547, กรุงเทพฯ
            สมนึก ภัททิยธนี.(2548) หนังสือพื้นฐานการวิจัย การศึกษา.ภาควิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.
           พวงรัตน์ ทวีรัตน์.(2538) วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
           บุญชม  ศรีสะอาด. (2541).  การพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ :  ชมรมเด็ก.

  Goodman, Fletcher and Schneider.(Effectivenesss Index: E.I.) 1980 : 30-34. 

แบบฟอร์มเรียงความแก้กระทู้ธรรม

(๑) ปญญา ภูริ ชายเต ปัญญา ย่อมเกิดขึ้นด้วยการฝึกฝน (๒) ณ บัดนี้ จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ลิขิตไว้เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และนำไปปฏิบัติต่อไป (๓) อธิบาย .......ประมาณ ๘-๑๒ บรรทัด................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ............................................................................(๔)สมกับสุภาษิตที่มาใน.................................ว่า (๕)สุภาษิตอ้าง........................................................................ (กึ่งกลางเท่านั้น) (คำแปล)................................................................................. (๖) อธิบายความว่า ...............ประมาณ ๗-๑๐ บรรทัด.................................................................................. ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... (๗) สรุปความ...ประมาณ ๔-๖ บรรทัด....................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................................................... ......................................................................(๘) สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า (๙)สุภาษิตต้น......................................................... (กึ่งกลางเท่านั้น) (คำแปล)..................................................................... (๑๐) ดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

หลัก กาลามสูตร เป็นหลักความเชื่อที่มีเหตุมีผล

กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่ 1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา 2. มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา 3. มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ 4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา 5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง 6. มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา 7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ 8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน 9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้ 10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา แต่จงเชื่อก็ต่อเมื่อได้ศึกษาและทดสอบด้วยตนเองแล้ว (สนฺทิฏฐิโก) เห็นว่าเป็นสัจธรรมสมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ (อกาลิโก) สามารถท้าทายการพิสูจน์ของผู้อื่นได้ (เอหิปสฺสิโก) เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ (โอปนยิโก) และเป็นธรรมที่วิญญูชนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญญูหิ)